วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

การใช้ GPS ในการติดตามกระบือ


การใช้ GPS ในการติดตามวัตถุ/สิ่งมีชีวิต

วันนี้ ผมได้ทดลองอุปกรณ์ GPS Data Logger (USB) ร่วมกับอาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร (ดร.พิพัฒน์ สมภาร) เพื่อใช้ในการติดตามสิ่งมีชีวิต (ในกรณีนี้ เราติดตามพฤติกรรม "กระบือ" หรือ "ควาย") เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยด้านปศุสัตว์ โดยใช้ จีพีเอส บันทึกข้อมูลเส้นทางโดยระบุตำแหน่งตัวระบุตำแหน่งสิ่งมีชีวิต (ควาย) นั้นๆ โดยรับตำแหน่งจากดาวเทียม GPS แล้วบันทึกไว้ในหน่วยความจำของเครื่องได้ไม่ต่ำกว่า 50,000 จุด

และสามารถ download ข้อมูลใน Data Logger เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วยพอร์ต USB เพื่อทำการศึกษาหรือวิเคราะห์พฤติกรรมสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ได้อย่างสะดวก
เมื่อเปิดใช้งานและติดตั้งเข้ากับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ เครื่องจีพีเอส จะบันทึก วัน เวลา ความเร็ว ความสูง และพิกัดตำแหน่ง ตามช่วงเวลาที่ตั้งไว้ ข้อมูลที่บันทึกมาทั้งหมดสามารถถ่ายโอนไปยังคอมพิวเตอร์ได้โดยง่ายเพื่อตรวจ สอบวิเคราห์ข้อมูลการเดินทาง เมื่อต้องการดูบันทึกย้อนหลัง สามารถเชื่อต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ทางพอร์ต USB แล้วถ่ายโอนข้อมูลด้วย Software ที่ให้มาด้วย สามารถบันทึกจัดเก็บได้หลายรูปแบบ เช่น CSV, TXT, และ KML และอื่นๆ แต่เท่าที่นำมาใช้ในงาน GIS ก็สำคัญเพียงไม่กี่ format

สามารถดูข้อมูลเส้นทางที่บันทึกมา ตรวจสอบผลได้ทันทีหลัง downlaod บน Google Map ว่าอยู่ตำแหน่งใดบนภาพ และยังสามารถส่งไปแสดงผลบน Google Earth ได้ทันที

และยังสามารถใ ช้เป็น GPS mouse สำหรับโน๊ตบุคได้อีกด้วย

และเราสามารถใช้ Software ที่แถมมาในการกำหนด Option หรือทางเลือกในการบันทึกค่าพิกัดได้ถึง 3 รูปแบบ (แบบ A, B, C)

และสามารถกำหนดให้ไม่ต้องบันทึกค่าในกรณีที่ สิ่งมีชีวิตนั่ง หรือนอนอยู่กับที่นานๆ

หรือสามารถกำหนดให้ไม่ต้องบันทึกค่าในกรณีที่สิ่งมีชีวิตอยู่ห่างจากจุดเดิมไม่เกินในระยะที่กำหนด ก็ได้เช่นกัน (แต่อันนี้น่าจะเหมาะสำหรับติดตามรถยนต์มากกว่า)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น