วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day)

วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day)



วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) เป็นวันฉลองการเก็บเกี่ยวที่เดิมเป็นการแสดงความขอบคุณต่อพระเจ้าเมื่อสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว ขณะที่ที่มาเดิมมาจากเทศกาลที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาแต่ในปัจจุบันวันขอบคุณพระเจ้าเป็นเพียงวันหยุดที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาที่ฉลองกันในสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ในสหรัฐอเมริกา วันขอบคุณพระเจ้าจะตรงกับวันพฤหัสบดีที่สี่ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในขณะที่ในประเทศแคนาดาจะตรงกับวันจันทร์ที่สองของเดือนตุลาคม ประเพณีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากการอพยพของชาวยุโรปมาที่ทวีปอเมริกาเหนือ ถึงแม้ว่าประเพณีนี้เป็นประเพณีหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ที่ฉลองกันโดยบุคคลในทวีปอเมริกาทั้งที่เป็นคริสต์ศาสนิกชนและอื่นๆ แต่เป็นการฉลองที่มีที่มาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือ ฉะนั้นเทศกาลนี้จึงไม่มีการฉลองกันในทวีปยุโรปหรือประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์อื่นๆ

ในวันขอบคุณพระเจ้านี้ชาวอเมริกันจะใช้เวลาอยู่ร่วมกับครอบครัวและรับประทานอาหารมื้อใหญ่ด้วยกัน โดยอาหารที่นิยมรับประทานจนเป็นประเพณีคือไก่งวง และนอกจากนี้ในเมืองนิวยอร์กจะมีขบวนพาเหรดที่มีชื่อเสียงจัดโดยห้างสรรพสินค้า เมซีส์ ในชื่อ เมซีส์เดย์พาเหรด (Macy's Day Parade)


ครบรอบวันเกิด 160 ปี โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน Robert Louis Stevenson 's birthday

ครบรอบวันเกิด 160 ปี โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน Robert Louis Stevenson 's birthday


13 พฤศจิกายน ครบรอบวันเกิด 160 ปี ของ โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน
(1850-1895) นักเขียนชาวสก็อต ผู้ประพันธ์วรรณคดีสำหรับเด็กซึ่งเป็นงานระดับคลาสสิกหลายชิ้น จบการศึกษาด้านวิศวกรรมและกฎหมาย แต่มีความสนใจด้านวรรณคดีมาตั้งแต่เด็กๆ และได้หันมาจับงานเขียนอย่างจริงจัง จนกลายเป็นนักประพันธ์ระดับแนวหน้า เขามีชื่อเสียงจากเรื่องแนวตื่นเต้นผจญภัย เช่นเรื่อง Treasure Island (เกาะมหาสมบัติ) และ The Strange case of Dr. JekyII and Mr. Hyde เขาสามารถเขียนเรื่องได้หลายแนวทั้งเรื่องท่องเที่ยว ชีวประวัติ เรื่องสั้น และบทกวีสำหรับเด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Narcissus นาร์ซิสซัส ดอกไม้ประจำเดือนธันวาคม

Narcissus นาร์ซิสซัส ดอกไม้ประจำเดือนธันวาคม



เดือนสุดท้ายของปีย่างเข้ามาแล้ว เดือนแห่งการเฉลิมฉลองและวันหยุดตามเทศกาลธันวาคมมีดอกไม้ชื่อ นาร์ซิสซัส เป็นดอกไม้ของคนที่เกิดเดือนนี้ค่ะดอกไม้ชนิดนี้ลักษณะคล้ายกับดอกไม้ที่ชื่อแดฟโฟดิลและดอกไม้ที่ชื่อว่าฌองควิล(สเปน)ที่เป็นดอกไม้ของคนที่เกิดเดือนมีนาคม(ลักษณะของเหมือนคล้ายกันคือเป็นพืชล้มลุกมีลักษณะของดอกผอมแคบและยาว หนังสือบางเล่มบอกว่าเป็นดอกชนิดเดียวกันแต่มีชื่อต่างกันและ มีสีเหลืองเหมือนกันอีกด้วย) ชื่อนาร์ซิสซัส มาจากภาษากรีกที่เรียกชื่อว่า นาร์ซิสโซ แปลว่าเอาชนะการลุ่มหลงมึนเมาได้และเชื่อกันว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับเฮเดส (Hades)จากยมโลก

ลักษณะคล้ายกับดอกไม้ที่ชื่อแดฟโฟดิลและดอกไม้ที่ชื่อว่าฌองควิล(สเปน)ที่เป็นดอกไม้ของคนที่เกิดเดือนมีนาคม(ลักษณะของเหมือนคล้ายกันคือเป็นพืชล้มลุกมีลักษณะของดอกผอมแคบและยาว หนังสือบางเล่มบอกว่าเป็นดอกชนิดเดียวกันแต่มีชื่อต่างกันและ มีสีเหลืองเหมือนกันอีกด้วย) ชื่อนาร์ซิสซัส มาจากภาษากรีกที่เรียกชื่อว่า นาร์ซิสโซ แปลว่าเอาชนะการลุ่มหลงมึนเมาได้และเชื่อกันว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับเฮเดส (Hades)จากยมโลก



นี่เป็นรูปของนางไม้ที่ชื่อเอคโค(ที่แปลว่าเสียงสะท้อน)

กับนาร์ซิสซัส ที่กำลังชะโงกเหนือลำธารเพื่อชมโฉมของตัวเอง

ชื่อของดอกไม้นาร์ซิสโซยังเกี่ยวกับเรื่องของเทพเจ้ากรีกอีกด้วย ในยุคนั้นมีชายหนุ่มรูปงามมากเป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทพมีชื่อว่านาร์ซิสซัส เนื่องจากความที่มีความหล่อเหลามากมีแต่คนหลงรักทั้งเทพเจ้าด้วยกัน มนุษย์ นางพรายต่างๆ แต่เขาไม่ได้รักใครเลยนอกจากตัวเองตอนนั้นมีนางพรายคนหนึ่งชื่อว่านาง เอคโค่ได้มาหลงรักแต่นาร์ซิสซัสไม่ได้สนใจ นางพราย เอคโคเสียใจมากหนีเข้าไปอยู่ในถ้ำจนตรอมใจตาย นาร์ซิสซัสก็ไม่สนใจค่ะ วันๆได้แต่นั่งอยู่ข้างๆแหล่งน้ำเพื่อชะโงกดูเงาตัวเอง อยู่มาวันหนึ่งคงจะชะโงกดูเงาตัวเองในลำธารเพลินไปหน่อยเลยตกลงไปในน้ำและจมน้ำตาย เทพเจ้ากรีกเลยเสกให้บริเวณที่เขาจมน้ำมีดอกไม้ชนิดหนึ่งขึ้นบริเวณนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึง ดอกไม้นั้นเลยได้ชื่อว่า นาร์ซิสซัส

เจ้าดอกไม้นาร์ซิสซัสยังมีความหมายเกี่ยวกับความตายและการเกิดใหม่อีกด้วยเพราะว่าสาวสวยนางหนึ่งชือ เพอร์เซโพเน่กำลังเก็บดอกไม้นี้ขณะที่ เฮเดส เจ้าแห่งยมโลกมาขโมยตัวของเธอเอาไปเป็นภรรยาที่ยมโลกทำให้เกิดการโศกเศร้ากันอย่างมากมายโดยเฉพาะแม่ของนางเพอร์เซโพเน่ร่ำไห้จน เฮเดสทนไม่ไหวจนยินยอมให้เธอกลับมาบนโลกในระยะเวลาสั้นๆคือช่วงฤดูไบไม้ผลิจนถึงฤดูไบไม้ร่วง ช่วงนี้เองค่ะที่ดอกแดฟโฟดิลหรือดอกนาร์ซิสซัสจะออกดอกชูช่อสว่างไสวไปตามท้องทุ่งและริมน้ำและจะออกดอกและบานก่อนดอกไม้ชนิดอื่นค่ะ ดอกนาร์ซิสซัสนี้ยังใช้ในงานพิธีศพของชาวอียิปต์โดยจะนำดอกไม้นี้ไปวางที่ริมฝีปาก ดวงตาทั้งสองข้างและจมูกของฟาโรห์ก่อนที่จะนำไปฝังหรือก่อนทำเป็นมัมมี่ แม้แต่ศาสนาคริสต์ก็ถือว่าดอกไม้นี้เป็นหมายของความตายและการฟื้นจากความตายของพระคริสต์ค่ะ

แต่ถ้าเป็นสมัยโบราญยุควิคตอเรียนถ้ามีคนส่งช่อดอกไม้ที่มีเจ้านาร์ซิสซัสแซมอยู่ด้วยจะแปลว่าส่งความระลึกถึงและอยากจะสารสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นและเต็มไปด้วยความเสน่หาค่ะแต่ในปัจจุบันถ้าส่งช่อดอกไม้ที่มีดอกนาร์ซิสซัส แดฟโฟดิลหรือจองควิลไปให้ใครจะมีความหมายว่าเพื่อระลึกถึงชีวิตหลังความตาย ความหวัง การเกิดใหม่และการมีชีวิตอมตะหรืออาจจะมีความหมายส่วนตัวว่าให้ความรัก ความหวังที่จะกลับคืนมาเหมือนเดิมค่ะ/

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

Raster / Vector และ Pixel

Vector Graphic
ภาพแบบเวกเตอร์จะต่างจากภาพแบบบิตแมป ซึ่งคุณจะได้พบกับภาพแบบนี้บนโปรแกรม สำหรับวาดภาพเช่น Adobe Illustrator,Macromedia Freehand ภาพแบบเวกเตอร์จะประกอบด้วย เส้นสาย ลวดลายต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ของลักษณะทางเรขาคณิตเพื่อ สร้างรูปทรงต่าง ๆ ที่คุณเห็น ซึ่งเรียกว่าเวกเตอร์ (vectors)ข้อดีของภาพแบบเวกเตอร์ที่มีเหนือภาพแบบบิตแมป คือ คุณสามารถเคลื่อนย้าย ปรับขนาด เปลี่ยนสี รูปทรง โดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ เพราะภาพแบบเวกเตอร์ เป็นภาพที่ไม่ขึ้นกับ ความละเอียด นั่นคือสามารถปรับขนาดและพิมพ์ที่ความละเอียดใด ๆ โดยไม่สูญเสียรายละเอียด และคุณภาพ ดังนั้นภาพแบบเวกเตอร์จึงเหมาะกับภาพลายเส้นต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร โลโก้
ภาพแบบบิตแมป หรือที่เรียกกันว่าแบบราสเตอร์ (raster) ภาพแบบบิตแมปนี้จะใช้ กริดของตารางเล็ก ๆ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “พิกเซล” (pixel) สำหรับแสดงภาพ แต่ละพิกเซลก็จะมีค่าของตำแหน่งและค่าสีของตัวเอง ด้วยเหตุที่พิกเซลมีขนาดเล็กเราจึงเห็นว่าภาพ มีความละเอียดสวยงามไม่มีลักษณะของกรอบสี่เหลี่ยมให้เห็น แต่ถ้าเราขยายขนาดของภาพ ก็จะเห็นกรอบเล็ก ๆ หรือพิกเซลที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ดังนั้นนเมื่องคุณทำงานกับภาพแบบมิตแมป จึงเป็นทำงานกับพิกเซลเล็ก ๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ไม่ใช่วัตถุหรือรูปทรงที่เห็น ภาพแบบบิตแมปเป็นภาพที่ขึ้นอยู่กับความละเอียด (resolution)นั่นคือ มีจำนวนพิกเซลที่แน่นอนในการแสดงภาพ
Pixel
พิกเซล (Pixel) เป็นการผสมผสานของคำว่า “Picture” และ “element” คือหน่วย พื้นฐานของภาพ ภาพบิตแมปทุก ๆ ภาพประกอบขึ้นด้วยพิกเซล แต่ละพิกเซลจะมีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เก็บข้อมูลของสีโดยถูกกำหนตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และ y ในลักษณะคล้ายแผนที่ (map) นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่าบิตแมป (bitmap) เช่น พิกเซลของ ภาพ 8 บิต จะเก็บข้อมูลของสี 8 บิต ที่จอภาพจะใช้ในการแสดงผล ดังนั้นภาพภาพหนึ่งจึงประกอบด้วยพิกเซลเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งคุณสามารถมองเห็นได้เมื่อ ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนของพิกเซล

การเน้นภาพเชิงพื้นที่ (Spatial enhancement or Spatial and Directional Filtering )

การเน้นภาพเชิงพื้นที่จะปรับเปลี่ยนค่าของจุดภาพนั้นๆ ตามค่าของจุดภาพที่อยู่โดยรอบ (Surrounding pixels) สำหรับ
การปรับเน้นคุณภาพของข้อมูลภาพวิธีนี้ เป็นเทคนิคที่จะกรองข้อมูลโดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า “Convolution
filtering” ซึ่งจะใช้หน้าต่างกรอง (Kernel) ในลักษณะ 2 มิติ โดยเลื่อนหน้าต่างให้ตารางที่อยู่ศูนย์กลางวิ่งผ่านทีละจุดภาพ (pixel)
แล้วแทนค่าจุดภาพนั้นๆ ด้วยค่าเฉลี่ยหรือกรรมวิธีทางคณิตศาสตร์อื่นๆ ของบรรดาจุดภาพข้างเคียงภายในหน้าต่างกรอง ซึ่งมีด้วย
กันหลายวิธี สำหรับในบทปฏิบัติการนี้จะกล่าวเฉพาะวิธีพื้นฐาน คือ Low Pass Filtering และ High-Pass Filtering
(1) Low Pass Filtering (LPF)
Low Pass Filtering เป็นการเน้นภาพเชิงพื้นที่ ด้วยการลดระดับความถี่เชิงพื้นที่ของข้อมูลภาพ
(Spatial frequency) ทำให้ภาพที่ได้ใหม่มีลักษณะเรียบ (Smooth) หรือพร่ามัว (Blur) มากขึ้น หลักการของเทคนิคการเน้นภาพ
แบบนี้ จะทำการคำนวณระดับค่าสีเทาของแต่ละจุดภาพด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Average) ของระดับค่าสีเทาเดิมรอบจุดภาพนั้น ด้วย
จำนวน n x m จุดภาพ ค่า n และ m จะต้องเป็นเลขคี่เสมอ เช่น 3 x 3, 5 x 5, หรือ 7 x 7 เป็นต้น ขนาด n x m เรียกว่า
Kernel หรือ BOXCAR ในกรณีที่หน้าต่างกรองมีขนาดเล็กไม่สามารถทำให้ภาพเรียบ อาจเลือกใช้หน้าต่างกรองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
มา แต่จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการสูญเสียรายละเอียดของข้อมูลจริงในภาพขึ้นด้วย
(2) High Pass Filtering (HPF)
High-Pass Filtering เป็นเทคนิคที่ใช้เน้นข้อมูลภาพบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่น
เส้นขอบอ่างเก็บน้ำ หรือชายฝั่งทะเล วิธีปฏิบัติคือจะทำการกรองภาพให้เรียบก่อนโดยทำ Low pass filtering (LPF) แล้วนำค่า
ระดับสีเทาที่ได้ในแต่ละจุดภาพของ LPF ไปลบออกจากค่าความเข้มของข้อมูลภาพเดิม (original data) จะได้ภาพใหม่อีกภาพ
หนึ่งที่แสดงผลต่าง ซึ่งจะใช้ภาพที่แสดงผลต่างที่ได้นี้เป็นส่วนของการเน้นภาพ โดยบวกกลับเข้าไปในภาพเดิม ทำให้ได้ภาพที่มีการ
เน้นขอบ (Edge enhancement) ที่ชัดเจนขึ้น

การยืดภาพเพื่อเน้นความชัดเจน (Contrast Enhancement or Contrast stretching)

สำหรับเทคนิคการยืดค่าระดับสีเทานี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
(1) Linear Contrast Stretch เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการปรับระดับค่าสีเทา (gray scale level) หรือค่า
ความสว่างให้มากขึ้น ด้วยการขยายพิสัย (Range) ของระดับค่าสีเทาของข้อมูลเดิมให้มีค่ามากยิ่งขึ้นจนเต็มช่วง 0-255 โดยใช้
กราฟปรับเทียบ (lookup table) ที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง เช่น เทคนิค Standard deviation linear contrast stretch,
Minimum-Maximum contrast stretch หรือ Data scaling เป็นต้น
(2) Non-Linear Contrast Stretch เป็นการยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพ โดยใช้ความสัมพันธ์ที่ไม่
ใช่ลักษณะเชิงเส้นตรง จุดประสงค์ในการใช้วิธีนี้คือ พยายามเปลี่ยนการกระจายข้อมูลที่ไม่ปกติให้เป็นแบบปกติและปรับจำนวนจุด
ภาพในแต่ละค่าความเข้มให้มีจำนวนใกล้เคียงกัน ซึ่งเทคนิคแบบนี้เรียกว่า “Histogram equalization stretching” หรือการยืด
ภาพตามความถี่ของข้อมูล นอกจากนี้การยืดข้อมูลภาพแบบ Non Linear Contrast Stretch ยังมีเทคนิคแบบอื่นๆ อีก เช่น
Histogram normalization, Logarithmic, Exponential, หรือ Gaussian เป็นต้น
(3) Piecewise Contrast Stretch เป็นการเลือกยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพเป็นช่วงที่เฉพาะเจาะจง
(Specific portion of data) โดยแต่ละช่วงอาจจะกำหนดพิสัยของการยืดแตกต่างกันไป หลักการคือ พิสัยของระดับค่าสีเทาของ
ข้อมูลเดิมที่ต้องการขยายนั้น จะถูกแบ่งออกเป็นหลายๆ ช่วง และในแต่ละช่วงจะขยายให้เป็นค่าใดๆ ก็ได้ตามต้องการ แต่ต้องต่อ
เนื่องกันไปจนตลอดช่วง 0-255
สำหรับเทคนิคการปรับเน้นภาพโดยวิธีการยืดข้อมูลภาพ อาจจะมีนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น Histogram
Matching, Threshold, Gamma, Constant Value, Invert หรือ Brightness and Contrast เป็นต้น นอกจากนี้การปรับเน้น
ภาพโดยเทคนิคการยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพนี้ ผู้ใช้สามารถที่จะทำการกำหนดหรือสร้างกราฟปรับเทียบ (lookup table) เอง
ได้โดยให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการด้วยการใช้เครื่องมือ “Break Point Editor” ของโปรแกรม ERDAS IMAGINE

Image Enhancement

Image Enhancement คือ กระบวนการปรับปรุงภาพให้ดีขึ้นเพื่อประโยชน์การแปลภาพด้วยการมองด้วยตา (Visual Interpretation) โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อภาพ สามารถแบ่งได้เป็น 2 domains: Spatial Domain และ Frequency Domain
Noise คือ การแปรปรวนโดยไม่ได้คาดหวังของความเข้มของแสง (Gray Scale) ของภาพ
Histogram คือ กราฟแสดงการกระจายของความเข้มของแสง (Gray Scale) ของภาพในทางสถิติ การกระจายข้อมูลของ Histogram ที่สมบูรณ์ควรเป็นรูประฆังคว่ำที่มีสมมาตรของการกระจายแบบปกติ (Normal Distribution)ดังนั้น สิ่งแรกในการทำ Image Enhancement คือ การตรวจสอบ Histogram ของ Image นั้นๆ