วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข่ายสามเหลี่ยมทางอากาศ(Aerial Triangulation)

ในโครงการผลิตแผนที่ด้วยเทคนิคของโฟโตแกรมเมตรีนั้น จะต้องอาศัยค่าพิกัดจากหมุดหลักฐานภาคพื้นดินเป็นจำนวนมากในลักษณะข่ายงานที่ครอบคลุมพื้นที่ของโครงการ การสร้างหมุดหลักฐานด้วยการสำรวจรังวัดภาคพื้นดินนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและสิ้นเปลืองบุคลากรและเวลามากโดยเฉพาะเมื่อพื้นที่ของโครงการมีขนาดใหญ่และเข้าถึงอย่างยากลำบากหรือไม่อาจเข้าไปรังวัดในพื้นที่ได้ ในปัจจุบันนี้กรรมวิธีของโฟโตแกรมเมตรีจึงเป็นเทคนิคใหม่ที่เข้ามาแทนที่การสำรวจรังวัดแบบดั้งเดิม (Conventional ground survey) เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการออกสำรวจภาคสนามมีรายจ่ายน้อยที่สุด ดังนั้นเทคนิคของการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Triangulation) จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่มีส่วนช่วยให้การผลิตแผนที่ด้วยเทคนิคของโฟโตแกรมเมตรีใช้งบประมาณอย่างประหยัด(Economic feasibility) ถ้าปราศจากการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศแบบจำลองสามมิติทุกแบบจำลองจะต้องใช้ค่าพิกัดทางราบจำนวน 2 หมุด ค่าพิกัดทางดิ่งจำนวน 3 หมุด และพิกัดหมุดตรวจสอบอีก 1 หมุด ซึ่งค่าพิกัดเหล่านี้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากและดำเนินการโดยการสำรวจรังวัดภาคพื้นดิน
การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ
การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศเป็นกรรมวิธีการขยายเพิ่มค่าพิกัดทางดิ่งและทางราบ
ภาคพื้นดินโดยการรังวัดตำแหน่งของจุดควบคุมรูปถ่ายในพื้นที่ที่มีส่วนเหลื่อมของรูปถ่ายทางอากาศ
กรรมวิธีของการสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศสามารถจำแนกโดยพิจารณาจากรูปแบบ
การปรับแก้ (Adjustment) ได้ 3 วิธี คือ
1) การปรับแก้แบบพหุนามหรือวิธีต่อลำดับ (Polynomial or Sequential)
2) การปรับแก้แบบจำลองอิสระ (Independent Model)
3) การปรับแก้แบบลำแสง (Bundle)

การปรับแก้แบบพหุนาม / วิธีต่อลำดับ
การปรับแก้แบบพหุนาม (Polynomial หรือที่เรียกว่า Sequential) ได้ถูกพัฒนาโดยสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา แบบจำลองนี้เรียกว่า “การปรับแก้ของ SCHUT” โดยใช้พหุนามคงแบบ(Conformal polynomial) สำหรับการแยกการปรับแก้ค่าพิกัดทางราบ และค่าพิกัดทางดิ่ง แบบจำลองนี้สามารถแปลงพิกัดแถบ (Strip coordinates) ให้เป็นค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งภาคพื้นดินได้ในแต่ละแนวบิน (ภาพ 1.7) หรือใช้ค่าพิกัดของจุดโยงยึด (Tie points) ทำการปรับแก้ค่าพิกัดในลักษณะบล็อกแบบพหุนามได้ (Polynomial block adjustment) นอกจากนี้โปรแกรมที่นิยมใช้นอกเหนือจากSCHUT ได้แก่ STRIM

การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Triangulation) เป็นกรรมวิธีที่ช่วยเพิ่มจำนวนจุดควบคุมรูปถ่ายทางอากาศทางราบและทางดิ่งจากการวัดพิกัดของจุดต่างๆที่อยู่ภายในบริเวณส่วนเหลื่อมของรูปถ่ายทางอากาศ งานข่ายฯจำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.การเตรียมงาน ( Preparation )
2.การปฏิบัติงานและการวัด ( Execution )
3.การปรับแก้ ( Adjustment )
4. การพิจารณาผลการปรับแก้ ( Determination of Adjusted Coordinates )
จุดที่ใช้สำหรับปรับแก้การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ
จุดที่ใช้กับการปรับแก้การสามเหลี่ยมจากรูปถ่ายทางอากาศ ได้แก่
1) จุดควบคุมพิกัดทางราบและทางดิ่งภาคพื้นดินที่มองเห็นชัดบนรูปถ่ายและในภูมิประเทศ
ที่รับสัญญานจีพีเอสได้ดี จุดเหล่านี้สามารถใช้การมองภาพสามมิติด้วยกล้องมองภาพ
สามมิติชนิดกระจกและแท่งแพรัลแลกซ์ (Parallax bar) เข้าช่วยเพื่อพิจารณาตำแหน่ง
วางหมุดให้มีมุมกั้นฟ้า (Mask angle) น้อยกว่า 15 องศา (Chanlikit, 1995)
2) จุดปีก (Wing points ) ที่ทำมุมตั้งฉากกับเส้นฐานรูปถ่าย (Photobase) ในบริเวณจุด
มุขยสำคัญไปหาขอบรูปถ่ายเป็นระยะ 9 – 11 เซนติเมตร
3) จุดผ่าน (Pass Points) ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับจุดมุขยสำคัญ
4) จุดโยงยึด (Tie points) ที่อยู่บริเวณส่วนเหลื่อมด้านข้างของแนวบินสองแนว
5) จุดศูนย์กลางการฉายภาพ (Projection centers) ที่ใช้วัดเพื่อการปรับแก้แบบจำลอง
อิสระ

การสุ่มตัวอย่างซ้ำ (Resampling)

การสุ่มตัวอย่างซ้ำ หรือ Resampling เป็นกระบวนการปรับแก้ค่าระดับสีเทาหรือเป็นการสร้างข้อมูลภาพใหม่
หลังจากการแก้ไขด้านตำแหน่งของข้อมูลดาวเทียมแล้ว ขนาดและตำแหน่งของจุดภาพจะเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องปรับค่าระดับสีเทา
ของข้อมูลใหม่โดยการ Resampling Interpolation เพื่อให้ได้ค่าระดับค่าสีเทาที่สอดคล้องกับตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลง
วิธี Resampling หรือการสร้างจุดภาพใหม่ ขนาดของจุดภาพ (Pixel size) ใหม่อาจจะมีขนาดเท่าเดิมหรือเปลี่ยนแปลงก็ได้ ทั้งนี้
ขึ้นกับการกำหนดของผู้ใช้ สำหรับการแทนค่าตัวเลขลงในจุดภาพใหม่มี 3 วิธี คือ
(1) Nearest neighbor substitution เป็นวิธีแทนด้วยค่าระดับสีเทาของจุดภาพเดิมที่อยู่ใกล้ที่สุดกับจุด
ภาพที่ทำการสุ่มตัวอย่างซ้ำ วิธีนี้ค่อนข้างง่ายและใช้เวลาในการคำนวณน้อย แต่ให้ความถูกต้องไม่สูงนัก
(2) Bilinear interpolation เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงเส้นคู่ โดยการสมมุติให้ค่าความต่างระหว่างจุด
ภาพเดิม 4 จุดภาพ
(3) Cubic convolution ค่อนข้างจะซับซ้อนและใช้เวลาในการประมวลผลนานกว่า 2 วิธีแรก จะใช้ค่า
ระดับสีเทาของจุดภาพที่อยู่ใกล้ชิดกับจุดภาพที่จะทำการสุ่มตัวอย่างซ้ำจำนวน 9 หรือ 16 จุดภาพในการ
คำนวณค่าใหม่ วิธีนี้จะสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะโพลีโนเมียลระดับสูง (มากกว่า 1st order)
ในการดำเนินการในลักษณะนี้ข้อมูลจะได้ระบบการกรองหรือเฉลี่ยให้เรียบขึ้นตามปริมาณจุดภาพเดิมที่ใช้ ซึ่งใน
กรณีที่ผู้ใช้จะต้องทำการปรับภาพให้คมชัด (Sharp) ก็อาจจะเลือกใช้วิธี Nearest neighbor substitution แล้วจึงทำการปรับภาพ
ให้เรียบด้วยซอฟต์แวร์ในภายหลัง ซึ่งจะง่ายและประหยัดเวลามาก สำหรับวิธี Bilinear interpolation ภาพใหม่ที่ได้จะมีเนื้อภาพ
เรียบ (Smooth) แต่จะใช้เวลาในการคำนวณนานกว่าวิธีวิธี Nearest neighbor ในขณะที่วิธี Cubic convolution จะให้ภาพที่มี
ลักษณะเนื้อภาพคมชัดขึ้น (ภาพที่ 6.13) แต่จะใช้เวลาในการคำนวณนานกว่า 2 วิธีแรก และค่าระดับสีเทาที่ได้ในแต่ละจุดภาพอาจ
จะแตกต่างไปจากจุดภาพเดิมมาก เพราะได้จากการคำนวณของจุดภาพข้างเคียง อย่างไรก็ดีในการที่จะเลือกวิธีการสร้างจุดภาพใหม่
ด้วยวิธีใดจะขึ้นกับการวินิจฉัยของผู้ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน


วิธี Nearest neighbor





















วิธี Bilinear interpolation















วิธี Cubic convolution

การแปลงค่าพิกัด (Co-ordinate transformation)

กระบวนการ Transformation หรือการคำนวณและทดสอบเมตริกแปลง เป็นกระบวนการดึงภาพที่บิดเบือน
ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและใกล้เคียงความเป็นจริง โดยมีจุด GCP ที่เลือกไว้เป็นจุดตรึงตำแหน่งต่างๆ ในขั้นตอนนี้จะคำนวณค่า
จากจุดควบคุมทางภาคพื้นดินที่กำหนดลงไปบนภาพ ผลการคำนวณจะระบุค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (root mean
square;RMS.) ของแต่ละจุดโดยมีหน่วยเป็นระยะทางระหว่างตำแหน่งของจุดควบคุมทางภาพพื้นดินและจุดควบคุมทางภาคพื้น
ดินที่คำนวณขึ้นใหม่ ค่าความคลาดเคลื่อนจะมีหน่วยเป็นจำนวนจุดภาพ (Pixel) หรือ เป็นเมตร โดยรูปแบบของสมการที่ใช้คำนวณ
ความคลาดเคลื่อน (RMS) มีดังต่อไปนี้
RMS สำหรับแกนราบ X = (SUM (X1-Xorg)2 / (n-k))
RMS สำหรับแกนราบ Y = (SUM (Y1-Yorg)2 / (n-k))
เมื่อ : X1 = ค่าพิกัดแนวราบที่คำนวณได้ในข้อมูลภาพที่ยังไม่ได้ปรับแก้
Y1 = ค่าพิกัดแนวดิ่งที่คำนวณได้ในข้อมูลภาพที่ยังไม่ได้ปรับแก้
Xorg = ค่าพิกัดแนวราบของจุดควบคุมทางภาคพื้นดินในภาพ
Yorg = ค่าพิกัดแนวดิ่งของจุดควบคุมทางภาคพื้นดินในภาพ
n = จำนวนจุดควบคุมทางภาคพื้นดิน
k = ค่า Degree of freedom หรือ จำนวนจุด GCP. ที่ต้องใช้ ซึ่งขึ้นกับรูปแบบของสมการ
ทางคณิตศาสตร์ในการแปลงพิกัด
ค่า RMSerror สามารถบอกได้ว่า จุดควบคุมภาคพื้นดินมีตำแหน่งพิกัดใกล้เคียงกับพิกัดอ้างอิงเพียงใด (มี
หน่วยเป็นจุดภาพ) โดยทั่วไปค่า RMSerror ที่ยอมรับได้จะมีค่าบวกหรือลบไม่เกิน 1 จุดภาพ ถ้าค่า RMSerror มีค่าสูงแสดงว่า
ความคลาดเคลื่อนทางตำแหน่งมีมาก อย่างไรก็ตามการกำหนดจุด GCP ในตำแหน่งใหม่ที่เหมาะสมสามารถที่จะเพิ่มความถูกต้อง
ของการแปลงค่าพิกัดได้

การสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขเพื่อผลิตแผนที่

การสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขเพื่อผลิตแผนที่
Digital Photogrammetry for Map

การสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศจะมีการทำงานอยู่ 3 รูปแบบ [1] คือ แบบกระทำด้วยมือ (Analog) แบบใช้เครื่องมือวิเคราะห์ (Analytical) และแบบใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Digital) ในกระบวนการทำแผนที่ด้วยภาพถ่ายทางอากาศจำเป็นต้องทราบตำแหน่งของวัตถุต่างๆ บนภาพถ่ายที่สัมพันธ์กับพื้นดินเพื่อให้ตำแหน่งของวัตถุบนภาพมีความถูกต้องสูงและเชื่อถือได้ก่อนนำไปสร้างเป็นแผนที่เชิงเลขที่แสดงผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือทำแผนที่จากฟิลม์ อีกทั้งยังสามารถใช้การซ้อนทับระหว่างการถ่ายภาพทางอากาศที่มีค่าร้อยละ 60 ไปสร้างเป็นแผนที่สามมิติได้อีกด้วย ดังนั้นการสำรวจภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขจึงมีขั้นตอนและรายละเอียดที่ซับซ้อนและต้องมีความรู้ในกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องสูงเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
กระบวนการสร้างแผนที่จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขจึงมีขั้นตอน 6 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
1. การวางแผนและกำหนดพื้นที่ถ่ายภาพบริเวณที่ต้องการ
2. ถ่ายภาพและแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของเชิงเลข
3. ปรับแก้ภาพถ่ายให้เป็นภาพถ่ายดิ่งจริง
4. กำหนดแผนที่ฐานและหมุดควบคุมของภูมิประเทศที่ถ่ายภาพ
5. ประมวลผลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพถ่ายทางอากาศและพื้นดิน
6. สร้างแผนที่และจัดพิมพ์

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แฟลช (Flash Light)

.........ไฟแฟลชเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการถ่ายภาพ ช่วยให้สามารถถ่ายภาพในที่ ๆ มีแสงสว่างน้อย หรือใน เวลากลางคืนให้ได้ภาพชัดเจน มีสีสันถูกต้องตามความเป็นจริง นอกจากนั้นสามารถใช้แฟลชเพื่อถ่ายภาพ และสร้างสรรค์ งานถ่ายภาพให้น่าสนใจ โดยใช้เทคนิคอื่น ๆ มาประกอบด้วย

หากแบ่งประเภทตามลักษณะการทำงานของแฟลชแล้วสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. แฟลชหลอด (Bulb Flash)
2. แฟลชอิเลคโทรนิค (Electronic Flash)


1. แฟลชหลอด (Bulb Flash)




แฟลชหลอด (Bulb Flash)


ประกอบด้วยตัวหลอดที่ทำด้วยแก้วใสบางฉาบด้วยพลาสติคใสสีฟ้าหรือสีน้ำเงินภายในหลอดบรรจุด้วยลวดโลหะพวกอลูมิเนียม (Aluminium) หรือเซอร์โคเนียม (Zirconium) ทำเป็นเส้นเล็ก ๆ มากมาย และมีก๊าซออกซิเจนช่วยในการเผาไหม้ ภายในจะมีใส้หลอด เมื่อใส้หลอดลุกไหม้ถึงที่สุด (Peak) แล้วจะค่อย ๆ ดับลง ซึ่งความสว่าง (Flash Duration) นั้นอยู่ระหว่าง 1/200 ถึง 1/25 วินาที มีจานสะท้อนแสงเป็นตัวสะท้อน และอีกชนิดหนึ่ง เป็นแบบลูกเต๋า (Cube) ภายในบรรจุหลอดเล็ก ๆ 4 หลอดเมื่อหลอดใดทำงานตัวแฟลชจะหมุนไป นอกจากนั้นอาจมีแฟลชที่เรียงลำดับแถว เรียกว่า ฟลิปแฟลช (FlipFlash) อย่างไรก็ตามถ้าหากจะแยกช่วงเวลาของความสว่างเป็นเกณฑ์แล้ว แฟลชหลอดมีอยู่ 4 พวก คือ
1. F (Fast Peak) มีช่วงความสว่างสั้นมากและแรงส่องสว่างค่อนข้างน้อย ความสว่างถึงจุดสูงสุดภายในเวลา 0.005-0.009 วินาที นับจากการกดสวิทช์ ดังนั้นเมื่อใช้ความเร็วกับแฟลชชนิดนี้ สามารถใช้กับความเร็วของชัตเตอร์ได้สูงถึง 1/100 หรือ 1/125 วินาที
2. M (Medium Peak) ให้ความสว่างนานกว่าประเภทแรก และช่วงเวลาในการลุกไหม้ปานกลาง คือ ให้ความสว่างถึงจุดสูงสุดภายในเวลา 00.18-00. 24 วินาที ฉะนั้นใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ไม่เกิน 1/50 ปกติจะใช้ 1/60 วินาที แต่ถ้าหากอยากให้สว่างมากกว่านั้นอาจใช้ 1/30 วินาทีก็ได้
3. S (Slow Peak) ให้ความสว่างถึงจุดสูงสุดภายในเวลา 0.03 วินาที ถือได้ว่าเป็นการลุกไหม้นานที่สุดและให้กำลังส่องสว่างสูงมากเหมาะสำหรับ การใช้กล้องในสตูดิโอ และการใช้เทคนิคในการถ่ายภาพแบบเปิดแฟลช (Open Flash) โดยไม่ต้องต่อสายแฟลชความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะกับแฟลชชนิดนี้ประมาณ ไม่เกิน 1/25 หรือ 1/30 วินาที
4. FP (Focal Plane) ให้แสงในช่วงลุกไหม้อย่างสม่ำเสมอให้ความสว่างถึงขีดสูงสุด ภายในเวลา 0.016-0.018 วินาที เหมาะในการใช้กับกล้องแบบ ม่านชัตเตอร์ใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ 1/60 วินาที

2. แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic flase)






แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic flase)


ผู้ที่คิดค้นได้สำเร็จ และนำมาใช้เป็นคนแรก คือ ฮาโรลด์ อี เอดเจอร์ตัน (Dr.Harold EEdgerton) กั บผู้ร่วมงานของเขาแห่งสถาบัน MIT เขาให้ชื่อสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า Kodatron Speed Lamp แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนามาอย่างรวดเร็วบางชนิดมีตาอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ควบคุมปริมาณของแสงให้ออกมาพอดีกับระยะการถ่ายภาพได้ซึ่งโอกาสที่จะทำให้ได้แสงไม่พอดีเกือบไม่มีเลยแฟลชอิเล็กทรอนิกส์มีขนาดให้เลือกได้ตามต้องการ และกำลังส่องสว่างแตกต่างกันไป ปกติจะมีอายุการใช้งานเกินกว่า 10,000 ครั้งขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการระวังรักษา แฟลชชนิดนี้จะมีแบตเตอรี่แห้งเป็นตัวจ่ายพลังงาน ให้บรรจุลงในคอนเดนเซอร์ และทำให้แฟลชทำงาน ช่วงเวลาส่องสว่างของแสงสั้นมากประมาณ 1/500 ถึง 1/2000 วินาที
หลอดแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ทำด้วยแก้วควอร์ตซ์ (Quartz) ภายในหลอดบรรจุด้วยก๊าซเฉื่อย พวกซีนอน (Xenon) อาร์กอน (Argon) หรือ คริปตอน (Krypton) หรือก๊าซผสมของก๊าซดังกล่าวนั้น ภายในตัวแฟลชมีตัวเก็บประจุ (Capacitor) หรือ (Condenser) ซึ่งจะใช้แรงดันไฟฟ้าประมาณ 500-2,000 โวลท์ ในการอัดประจุเมื่อแฟลชทำงาน ทริกเกอร์อิเลคโทรด (Trigger Elec-trode) ที่อยู่ทั้ง 2 ข้างของหลอดแฟลช จะทำให้เกิดแรงคลื่นไฟฟ้าสูงออกมาผ่านก๊าซเฉื่อย และกระแสจะแตกตัวเป็นไอออน ทำให้คายพลังงานออกมาเป็นแสงส่องสว่างได้ในปริมาณแสง 4,500 ลูเมน - วินาที สำหรับแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ขนาดปานกลาง

แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้อง SLR 35 มม . แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. แฟลชระบบธรรมดา ปกติจะมีขนาดเล็กราคาไม่แพงใช้พลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ขนาด 1.5 โวลท์ จำนวน 2 หรือ 4 ก้อนให้ความสว่างพอสมควรใช้ถ่ายภาพ ในระยะห่างมากไม่ค่อยได้ผลนัก ที่ตัวแฟลชจะมีตารางแนะนำขนาดของรูรับแสง โดยตั้งเทียบกับความไวแสงของฟิล์มและระยะห่างในการถ่ายภาพ แฟลชชนิดนี้เหมาะ ในการนำติดตัวไปใช้ในงานที่ไม่ต้องการกำลังไฟฟ้าสว่างมากนัก หรืออาจนำไปใช้เป็นแฟลชประกอบกับแฟลชตัวอื่นได้

2. แฟลชระบบอัตโนมัติ เป็นแฟลชที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายแบบให้เลือกตามต้องการ และตามลักษณะการใช้งานตั้งแต่ ระดับมือสมัครเล่นจนถึงมืออาชีพแฟลชชนิดนี้จะปรับกำลังความสว่างของแสงโดยอัตโนมัติ ให้พอดีกับระยะความห่างของแต่ละช่วง ระยะที่แฟลชกำหนดมาปกติจะ กำหนดมาประมาณ 3-4 ระยะ อาจใช้สีต่าง ๆ แทนช่วงระยะห่างของแต่ละช่วง แฟลชชนิดนี้ทำงานด้วยระบบที่เรียกว่า ไธริสเตอร์ (Thyristor) ซึ่งเป็นเซลล์ไวแสงทำหน้าที่อ่านปริมาณของแสงแฟลชที่ส่งออกไปกระทบกับวัตถุที่ถ่ายแล้ว สะท้อนกลับมายังเซลล์ไวแสง เมื่อปริมาณที่ส่องออกไปพอดี สวิทซ์ภายในระบบไธริสเตอร์ก็จะตัดกระแสไฟที่จ่ายไปยังไส้หลอดไฟแฟลชออกอย่างรวดเร็วโดยอัตโนมัติ จะทำให้ปริมาณแสงที่ส่องออกไปพอดีกับขนาดของรูรับแสง ที่กำหนดไว้และที่ตัวประจุไฟ (Capacitor) ในตัวแฟลชจะมีกำลังไฟสำรองไว้ตลอดเวลา สามารถให้แสงต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วและมากครั้งกว่าแฟลชระบบธรรมดา นอกจากนั้นแฟลชชนิดนี้ยังมีระบบการให้แสงแบบธรรมดาเหมือนแบบแรกได้ด้วย แฟลชชนิดนี้แบ่งตามขนาดได้ 3 ชนิด คือ


2.1 แฟลชขนาดเล็ก เป็นแฟลชที่มีลักษณะกระทัดรัด ใช้กับแบตเตอรี่ชนิด 1.5 โวลท์ 2 หรือ 4 ก้อน มีระบบอัตโนมัติที่ปรับความสว่างของแสง ให้สัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่กำหนดได้ประมาณ 2 ระดับ มีไกด์นัมเบอร์เมื่อใช้ระบบธรรมดาระหว่าง 45-90 ต่อระยะเป็นฟุตกับฟิล์มที่มีความไวแสง 100 แฟลช ประเภทนี้ส่วนมากจะใช้เสียบกับฐานแฟลชบนกล้องได้เลยโดยไม่ต่อสายเพราะเป็นระบบปุ่มสัมผัสบนฐาน แฟลช (Hot Shoe) นอกจากนั้นอาจปรับหัวแฟลชให้ หันซ้าย - ขวา ก้มเงย เพื่อการสะท้อนแสงได้ด้วย
2.2 แฟลชขนาดกลาง เป็นแฟลชที่มีลักษณะการใช้งานกว้างขึ้น มีระบบอัตโนมัติปรับความสว่างของแสงให้สัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่กำหนดได้ ประมาณ 2-4 ระดับบางรุ่นอาจได้ถึง 6 ระดับ ใช้กับแบตเตอรี่ชนิด 1.5 โวลท์ 4 ถึง 6 ก้อน มีไกด์นัมเบอร์เมื่อใช้ระบบธรรมดาระหว่าง 80 -135 ต่อระยะเป็นฟุตกับฟิล์ม ที่มีความไวแสง 100 นอกจากสามารถปรับ ซ้าย - ขวา ก้มเงย หัวแฟลชเพื่อการสะท้อนแสงและมีระบบปุ่มสัมผัสบนฐานแฟลช (Hot Shoe) แล้วยังมีสวิทซ์ที่ปรับเปลี่ยน การใช้กำลังไฟส่องสว่างได้หลายระดับอีกด้วย ซึ่งอาจบอกเป็นสัญญานไฟ ตัวเลขดิจิตอล หรือตารางการเปลี่ยนแปลง และยังสามารถปรับมุมสว่างของแสงให้กว้าง และแคบได้ แฟลชชนิดนี้บางรุ่นยังมีดวงไฟสำหรับให้แสงถึง 2 ดวงในตัวเดียวกัน คือ ดวงใหญ่ที่หัวแฟลช ดวงเล็กที่หน้าแฟลชเพื่อช่วยให้แสงลบเงาได้ภาพที่ดีขึ้น
2.3 แฟลชขนาดใหญ่มีด้ามจับ เป็นแฟลชที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากขึ้นมีด้ามจับต่อจากหัวแฟลช เพื่อใช้ยึดติดกับแขนรองรับร่วมกับตัวกล้อง หรืออาจจับ ด้ามถือแยกจากตัวกล้องได้ ความสว่างของแสงแรงกว่า 2 แบบแรก แฟลชประเภทนี้ รุ่นเก่ามีหม้อแบตเตอรี่แยกออกจากหัวแฟลช แต่ปัจจุบันนี้ได้ออกแบบให้อยู่ที่ตัวด้าม จับใช้แบตเตอรี่ขนาด 1.5 โวลท์ ประมาณ 4,6 หรือ 8 ก้อน มีระบบอัตโนมัติที่ปรับความสว่างของแสงให้สัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่กำหนดได้ 2-6 ระดับมีไกด์นัมเบอร์ เมื่อใช้ระบบธรรมดาระหว่าง 100-190 ต่อระยะเป็นฟุตกับฟิล์มที่มีความไวแสง 100 มีวงจรประหยัดไฟให้แสงได้ต่อเนื่องรวดเร็วทันใจและมากครั้งขึ้น บางรุ่นมีที่ปรับมุมส่องสว่างให้กว้างหรือแคบได้ และปรับหัวแฟลชให้หันซ้าย - ขวา ก้มเงยได้ตามต้องการ และอาจมีอุปกรณ์ประกอบแฟลชมากยิ่งขึ้น

ได้กล่าวไว้ว่าชั้นที่ 2 เป็นชั้นของเยื่อไวแสงที่บันทึกภาพ ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีและฟิล์มสไลด์สีจะบันทึกสีต่าง ๆ สามสีด้วยกัน คือสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดงตามวัตถุสีที่ถ่ายนั้น อย่างไรก็ตามวัตถุที่ถ่ายอาจมีสีอื่น ๆ นอกจาก สามสีที่กล่าวมาแล้ว แต่สีต่าง ๆ นั้นก็เป็นการรวบรวมตัวของสีทั้ง 3 เช่น สีไชยัน (Cyan) หรือสีฟ้าก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินและสีเขียว สีม่วง หรือสีมาเยนต้า (Magenta) ก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินกับสีแดง สีเหลือง (Yellow) ก็เป็นการรวมตัวของสีเขียวและสีแดง ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นทฤษฎีสีของแสง







นอกจากแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ระบบอัตโนมัติที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า แฟลชระบบดิดีเคท (Dedicate) นอกจากจะมีระบบเหมือนกับที่กล่าวมาแล้ว ยังมีระบบพิเศษที่ควบคุมการทำงานให้สัมพันธ์กับการทำงานของกล้อง แต่ละรุ่นที่มีระบบการทำงานร่วมกันได้ โดยเมื่อติดแฟลชแล้วกล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ ให้สัมพันธ์กับไฟแฟลชเอง โดยอัตโนมัติและแสดงสัญญานไฟที่จอภาพหรืออาจมีเสียงสัญญานเตือนเมื่อแฟลชพร้อมที่จะใช้งาน นอกจากนั้นกล้องบางรุ่น ยังมีระบบวัดแสง แฟลชผ่านเลนส์ (Through the Len Auto Flash) ทำงานร่วมกับแฟลช โดยกล้องจะปรับรูรับแสงเอง หรือแฟลชจะปรับการส่องสว่างของแสงเอง โดยอัตโนมัติแฟลชแบบนี้ยังสามารถใช้กับกล้องที่ไม่ทำงานสัมพันธ์กับแฟลชได้อีกด้วย ดังนั้นแฟลชที่จำหน่ายในปัจจุบันจึงนิยมนำระบบ Dedicate เพื่อให้สัมพันธ์กับกล้องบางรุ่นด้วยแต่ก็ยังมีแฟลชที่ไม่สัมพันธ์ในระบบดังกล่าวกับกล้องรุ่นใดเลย หากแต่ใช้เป็นระบบอัตโนมัติและระบบธรรมดาเท่านั้น


การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

แฟลชไกด์นัมเบอร์ (Flash Guide Number) หรือแฟลชแฟคเตอร์ (Flash Factor) คือ ตัวเลขนำของแฟลชที่แสดงถึงความสามารถของกำลังส่องสว่างของแฟลชนั้น ๆ และตัวเลขนำนี้มีประโยชน์ ในการใช้คำนวนหาการเปิดขนาดรูรับแสงที่พอดีซึ่งสัมพันธ์กับระยะทางจากไฟแฟลช ถึงวัตถุถ่ายภาพมีสูตรดังนี้

- ไกด์นัมเบอร์ (GN) = ขนาดของรูรับแสง (F-Stop) x ระยะทาง ( ฟุตหรือเมตร ) (Distance) หรือ
- ไกด์นัมเบอร์ (GN) ขนาดรูรับแสง (F-Stop) = ระยะทาง ( ฟุต , เมตร ) (Distance)

โดยปกติบริษัทผู้ผลิตไฟแฟลช จะเป็นผู้กำหนดไกด์นัมเบอร์บอกมาพร้อมกับตัวแฟลช ซึ่งอาจไม่ตรงตามที่บอกนัก ด้วยเหตุผลในการจำหน่าย ซึ่งไกด์นัมเบอร์ที่บอกมานั้นจะบอกว่าสัมพันธ์กับความไวแสงของฟิล์มชนิดใดด้วย เพื่อตรวจสอบให้เกิด ความมั่นใจในคุณภาพของแฟลชเราสามารถทดสอบหาไกด์นัมเบอร์ได้ดังนี้
บรรจุฟิล์มที่มีความไวแสงเท่ากับ ที่บริษัทบอกมาเช่น ISO 100 เสร็จแล้วกำหนดระยะห่างจากแฟลช ถึงวัตถุ ที่ถ่าย เช่น 10 ฟุต ถ่ายภาพโดยการตั้งรูรับแสงหลาย ๆ ขนาดเลือกดูภาพที่เห็นว่าแสงพอดีที่สุดเช่น ภาพที่ถ่ายด้วย รูรับแสง 8 ดังนั้น ไกด์นัมเบอร์ที่ถูกต้องของแฟลชที่ใช้ คือ

GN = F-Stop x Distance
GN = 8 x 10
= 80
เมื่อเราทราบไกด์นัมเบอร์ของแฟลชที่เราใช้อยู่ ความสะดวกสบายในการหาขนาดรูรับแสงก็จะมากขึ้นแน่นอนขึ้น เช่น แฟลชของเรามีไกด์นัมเบอร์ 80 ถ้าถ่ายภาพ ระยะห่างจากแฟลชถึงวัตถุ 20 ฟุต จะใช้ขนาดรูรับแสงเท่าใด เราก็ สามารถหาได้ตามสูตร คือ
GN
F-Stop= .
Distace
80
F-Stop=. 20
= 4

ดังนั้นขนาดของรูรับแสงที่ได้คือ 4 ก็เปิดหน้ากล้อง 4 แล้วดำเนินการถ่ายภาพได้อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงฉากหลังด้วย ถ้ามืดเกินไป หรือไม่มีผนังสะท้อน ของแสงกลับมา ควรเปิดหน้ากล้องมากยิ่งขึ้นและในทางตรงกันข้ามฉากหลังสีขาว หรือสีอ่อนที่สามารถสะท้อนกลับคืนได้อาจจะเปิดหน้ากล้องให้แคบลงอีก

วิธีใช้แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ในการถ่ายภาพ และข้อปฏิบัติอื่น ๆ

1. ตั้งค่าความไวแสงของฟิล์มที่ตัวแฟลช โดยการหมุนแว่นวงกลมที่มีตัวเลขบอกค่าความไวแสงของฟิล์มให้ตรงกับเครื่องหมายลูกศรชี้ตามที่แฟลชกำหนด
2. นำสายแฟลชเสียบเข้าที่รูเสียบแฟลชของกล้อง ถ้ากล้องมีสองรูให้เสียบที่รูมีเครื่องหมาย X
3. ตั้งความเร็วชัดเตอร์ของกล้อง ให้ตรงกับที่คู่มือกล้องแนะนำเมื่อใช้แฟลชอาจเป็น 30 60 125 หรือ 250 ซึ่งกล้องบางตัวจะมีเครื่องหมายบอกไว้เช่น X หรือ อื่น ๆ ถ้าไม่ทราบว่ากล้องนั้นสัมพันธ์กับแฟลชที่ความเร็วชัดเตอร์ใดอาจตั้งไว้ที่ 30 หรือ 60 ได้
4. การตั้งขนาดรูรับแสง (F-Stop) ให้ใช้ค่าที่ได้จากตัวแฟลชหรือการคำนวณพิจารณาจากไกด์นัมเบอร์ และระยะทาง หรืออาจใช้เครื่องวัดแสงแฟลชเฉพาะได้ (Flash Light Meter)
5. ปรับระยะชัดหรือเรียกว่าปรับโฟกัสให้ภาพคมชัดไม่พร่ามัว
6. เปิดสวิทซ์ไฟที่แบตเตอรี่ของแฟลชเพื่อให้ไฟชาร์จเข้าหลอดจนกระทั่งมีไฟบอกความพร้อม (Pilot Lamp) ปรากฎขึ้นโดยทั่วไปใช้เวลา 4 ถึง 15 วินาที
7. จัดองค์ประกอบของภาพให้สวยงามตามหลักศิลปะในการถ่ายภาพ
8. กดลั่นไกชัตเตอร์ถ่ายภาพได้อย่างไรก็ตามมีข้อคำนึงในการใช้แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ คือ

1. เตรียมแบตเตอรี่ให้พร้อม และเป็นแบตเตอรี่ที่ใหม่สดเสมอ จึงจะให้ภาพที่มีคุณภาพดี แฟลชบางตัวอาจใช้เสียบไฟบ้านได้ ต้องเสียบสายให้พร้อมถ้าต้องการใช้ไฟบ้าน
2. การใช้แฟลชทุกครั้งต้องรอไฟเตือนความพร้อมเสียก่อน มิฉะนั้นความสว่างของแสงที่ส่องออกไปอาจจะไม่สว่างเต็มความสามารถของแฟลช
3. ถ้าถ่ายภาพเสร็จทุกครั้ง ควรปิดสวิทซ์ไฟ เพื่อเป็นการประหยัดกำลังไฟและแบตเตอรี่เมื่อจะถ่ายต่อไปจึงค่อยเปิดสวิทซ์ใหม่
4. ถ้าไม่ใช้งานเป็นเวลานาน ก่อนเก็บแฟลชควรเปิดสวิทซ์ให้ไฟเตือนความพร้อม (Pilot lamp) สว่างขึ้นเสร็จแล้วปิดสวิทซ์ ไม่ควรกดให้แสงวาบ ออกไปทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยการเก็บประจุของ Capacitor หรือ Condensor ให้ทำงานถูกต้องเสมอและเมื่อเก็บไว้นาน ๆ ควรถอดแบตเตอรี่ออกจากตัวแฟลชด้วย หลังจากเก็บไว้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ก่อนใช้งานควรกดแสงวาบออกไปสักหลาย ๆ ครั้งก่อนเพื่อทำให้ Capacitor ทำงานเต็มความสามารถ เรียกวิธีการนี้ว่า รีฟอร์มิ่ง Re-Forming
5. ควรระมัดระวังอย่าให้แฟลชตกกระทบพื้น หรือกระแทกเพราะจะทำให้เสียหายได้

เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

แฟลชไกด์นัมเบอร์ (Flash Guide Number) หรือแฟลชแฟคเตอร์ (Flash Factor) คือ ตัวเลขนำของแฟลชที่แสดงถึงความสามารถของกำลังส่องสว่างของแฟลชนั้น ๆ และตัวเลขนำนี้มีประโยชน์ ในการใช้คำนวนหาการเปิดขนาดรูรับแสงที่พอดีซึ่งสัมพันธ์กับระยะทางจากไฟแฟลช ถึงวัตถุถ่ายภาพมีสูตรดังนี้

1. การส่องแสงแฟลชทางอ้อม (Indirect Flash) หรืออาจเรียกว่าแฟลชสะท้อน (Bounce Flash) คือ การใช้แสงแฟลชที่สะท้อนจากเพดานกำแพงหรือ แผ่นสะท้อนโดยเฉพาะ เพื่อการถ่ายภาพ ลำแสงที่ตกกระทบเพดานกำแพงหรือแผ่นสะท้อนลงบนวัตถุจะมีลักษณะนุ่มและกระจาย (Diffused Light) ช่วยขจัดเงาดำ หรือแสงที่แข็งกระด้างข้อควรระวังในเรื่องนี้ก็ คือ การตั้งหน้ากล้องหรือขนาดของรูรับแสง ควรเพิ่มให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณ 2 เอฟ สตอปจากการคำนวนได้ตามวิธีปกติ อย่างไรก็ตามถ้าใช้กระดาษแข็งสีขาวติดบนแฟลชเพื่อสะท้อนแสง กระดาษควรห่างจากแฟลชประมาณ 13 ซม . และตั้งมุมของกระดาษที่จะสามารถสะท้อนแสงให้ตกลงบนวัตถุได้ถูกต้อง แผ่นกระดาษสีขาวยังช่วยสะท้อนแสงแฟลชไปยังดวงตาให้เกิดแววในดวงตาอีกด้วย

2. การลดแสงแฟลชให้นุ่มนวลขึ้น (Diffusing Flash) ในกรณีที่ต้องการลดแสงแฟลชให้นุ่มนวลขึ้นควรใช้แผ่นกรองแสงบังหน้าแฟลชไว้ซึ่งแผ่นกรองแสงนี้ มีลักษณะเป็นพลาสติคใสอาจใช้วัสดุอื่น ๆ แทนได้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า กระดาษเช็ดเลนส์ ถุงน่องของสุภาพสตรี เป็นต้น ควรใช้ยางหรือเชือกยึดติดตัวแฟลชให้แข็งแรง การตั้งขนาดรูรับแสงควรเพิ่มให้มีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณ 1-2 เอฟสต๊อปจากการคำนวนได้ตามวิธีการปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนา หรือบางของวัสดุ ที่บังหน้าแฟลช ภาพที่ได้จะมีลักษณะนุ่มนวล เพราะแสงไม่จ้าหรือแข็งเกินไป

3. การใช้แฟลชเสริม (Fill In Flash, Environmental Flash) ในบางครั้งการถ่ายภาพกลางวันขณะที่มีแดดจัด ๆ ทำให้ตาหยี มีเงาดำมากทำให้ ได้ภาพที่ไม่สวยงาม อาจใช้แฟลชช่วยลดเงา หรือเป็นแสงเสริมดวงอาทิตย์ เพื่อลบเงาที่ไม่ต้องการได้ ซึ่งลักษณะนี้ต้องการแสงแฟลชประมาณ ? หรือ ? เท่าของ แสงแฟลชที่ใช้ในยามปกติ การเปิดขนาดรูรับแสงนั้นให้ใช้ขนาดเดียวกันกับที่ถ่ายด้วยแสงแดดอย่างเดียว หากแต่จะต้องคำนวณหาระยะทางที่เป็นที่ตั้งของแฟลช โดยเอาค่าของขนาดรูรับแสงหารด้วยไกด์นัมเบอร์ก็จะเป็นระยะห่างของตำแหน่งของแฟลชหรือของกล้องด้วยเมื่อติดแฟลชไว้บนตัวกล้องลักษณะนี้ แสงอาทิตย์และ แสงแฟลชจะมีความเข้มเท่ากัน ถ้าต้องการภาพสวยงามขึ้น อาจให้แสงอาทิตย์ส่องหลังวัตถุ และแฟลชส่องด้านหน้าจะได้ภาพที่มีความสวยงามนุ่มนวลแปลกตาเพราะ มีแสงสีขาวรอบ ๆ วัตถุด้วย ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ความเข้มของแสงของแฟลช เท่ากับแสงดวงอาทิตย์ อาจใช้ผ้าเช็ดหน้าหุ้มหลอดแฟลชช่วยลดความสว่างลงได้

4. การใช้แฟลชโดยไม่ต่อสายเข้ากล้อง Painting With Flash, Open Flash ในกรณีที่ต้องการแสงแฟลชส่องสว่างให้แก่ภาพอย่างทั่วถึงทุกซอกทุกมุม ในเวลาถ่ายภาพกลางคืน หรือฉากที่มีแสงสว่างไม่พอ แต่ฉากนั้นมีความกว้างใหญ่มีพื้นที่มากแสงแฟลชไปไม่ถึง สามารถถ่ายภาพได้โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า การเปิดแฟลชโดยไม่ต่อสายเข้ากล้อง วิธีทำก็ คือเปิดรูรับแสงไว้ที่ B หรือ T (Time Exposure) แล้วฉายแสงแฟลชซ้อนเข้าไปในภาพนั้น ๆ อาจฉายแสงได้มากครั้ง ตามที่ต้องการ โดยที่กล้องต้องผนึกให้แข็งแรงบนขาตั้งและการฉายแสงแฟลชอาจใช้ ฟิลเตอร์สีต่าง ๆ ช่วยให้ภาพมีสีสันสวยงามตามจินตนาการได้ ในการเปิดรูรับแสงนั้น ให้ใช้หลักการคำนวณ โดยใช้ระยะทางจากแฟลชถึงวัตถุที่ถ่ายหารด้วยไกด์นัมเบอร์เช่นเดียวกันกับการใช้แฟลชปกติ ข้อควรคำนึงในการใช้เทคนิคนี้ก็ คือหลีกเลี่ยงการ ฉายแสงแฟลชเข้าหน้าเลนส์ถ่ายภาพเพราะจะทำให้เกิดแสงเป็นวง (Flare) ในภาพได้

5. การใช้แฟลชกับแว่นกรองแสง สีต่าง ๆ (Filtered Flash) ดังที่ทราบมาแล้วว่าแสงแฟลชจะมีอุณหภูมิสีของแสงใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ ดังนั้นเมื่อใช้กับ ฟิล์มถ่ายภาพกลางวัน (Daylight) จะได้ภาพสีธรรมชาติเราสามารถสร้างอารมณ์ในภาพให้เกิดสีสันต่าง ๆ ได้โดยการสวมฟิลเตอร์เข้าที่หน้าแฟลชเพื่อให้การ ฉายแสงมีสีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสีอุ่นหรือสีเย็นได้ตามต้องการ และการสวมฟิลเตอร์ที่แฟลชจะไม่ทำให้สีธรรมชาติของแสงอื่น ๆ เปลี่ยนไป แตกต่างกับการสวมฟิลเตอร์ ที่หน้าเลนส์ จะมีผลกระทบต่อแสงส่วนรวม ฟิลเตอร์ที่นำมาครอบแฟลช อาจใช้ฟิลเตอร์แผ่นจำพวกฟิลเตอร์ช่วยในการอัดภาพเรียกว่า CP (Color Printing) ฟิลเตอร์แก้ไขสี CC (Color Compensating) หรือฟิลเตอร์แก้ไขแสง (Light Balancing) ก็ได้ ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านถ่ายภาพทั่วไป หรืออาจจะประดิษฐ์ขึ้นมา ใช้เองก็ได้ โดยการนำแผ่น อาซีเดทใสชนิดด้าน มาระบายด้วยสีน้ำ สีเทียนหรือ สีเพิ่มเติมภาพก็จะได้ฟิลเตอร์ครอบแฟลชที่ใช้งานได้มีข้อคำนึงคือ เมื่อใช้ฟิลเตอร์ครอบ หน้าแฟลช รูรับแสงต้องเปิดชดเชย ให้มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการสูญเสียจากการกลืนแสงของฟิลเตอร์
ข้อแนะนำในการเปิดรูรับแสงเพิ่มเติม คือถ้าใช้ฟิลเตอร์สีแดงเปิดเพิ่ม 2 เอฟสต๊อป สีเขียว หรือน้ำเงิน เพิ่ม 1 เอฟสต๊อป สีน้ำเงินอ่อน สีส้ม หรือ สีม่วง เพิ่ม 1/2 เอฟสต๊อป แต่ถ้าเป็นสีเหลืองไม่ต้องเพิ่มขนาดของรูรับแสง

6. การใช้แฟลช 2 ดวง (Multiple Flash) ในบางครั้งอาจใช้แฟลชดวงเดียวทำให้ภาพที่ได้ไม่สวยงาม เพราะมีเงามากความตัดกันของแสงสูง ขาดรายละเอียดที่จำเป็น ดังนั้นอาจใช้แฟลชอีกดวงหนึ่งเพิ่มเติม โดยแฟลชตัวแรกเรียกว่าเป็นแสงหลัก (Main Light) ติดตั้งไว้ใกล้วัตถุ และอีกตัวหนึ่งติดตั้งไว้ ที่กล้องห่างจากวัตถุออกไป เรียกว่าเป็นแสงเพิ่ม (Fill Light) การใช้แฟลชสองดวง อาจใช้การต่อสายหรือเครื่องช่วยเปิดแสงแฟลช (Slave-Unit) โดยไม่จำเป็นต้อง ต่อสายก็ได้ ข้อคำนึงคือ อัตราส่วนของแสงของแฟลชทั้งสองตัว ถ้าต้องการอัตราส่วนระหว่างแสงหลัก และแสงเพิ่มเป็นอัตราส่วน 2:1 ควรให้ตำแหน่งของแสง หลักห่างจากวัตถุ 8 ฟุต แสงเพิ่ม 11 ฟุต ถ้าอัตราส่วน 3:1 ระยะห่าง 6.3 และ 11 ฟุต แต่ถ้าต้องการอัตราส่วน 4:1 ระยะห่าง 5.6 และ 11 ฟุตตามลำดับ

7. การใช้แฟลชกับวัตถุที่เคลื่อนที่ ในบางครั้งการถ่ายภาพวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวต้องใช้ความไวชัตเตอร์สูงมาก โดยเฉพาะการใช้ฟิล์มชนิดที่มีความไวต่ำ ทำให้ไม่สะดวกสบายในการถ่ายภาพ ในการแก้ไขอาจใช้แฟลชเข้าช่วยได้โดยการเปิดความไวชัตเตอร์ตามที่เหมาะสมสำหรับกล้องที่ใช้ และเปิดรูรับแสงตามที่คำนวณได้ จากระยะห่างจากแฟลชถึงวัตถุที่ถ่าย ก็จะได้ภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวนั้นคมชัด หยุดการเคลื่อนไหวได้และยังมีแฟลชพิเศษ ที่มีช่วงความสว่างของแสงสั้นและเร็วมาก ๆ สามารถถ่ายภาพลูกปืนวิ่งผ่านวัตถุ ลูกธนูวิ่งหาเป้าเหล่านี้ให้หยุดนิ่งได้

8. การใช้แฟลชถ่ายภาพปลาในตู้กระจกวิธีใช้แฟลชในการถ่ายภาพปลาในตู้กระจก ควรให้ตำแหน่งของแสงแฟลชส่องจากข้างบนตู้ปลาและกล้องถ่าย อยู่ด้านหน้าของตู้ปลาในการตั้งรูรับแสงควรคำนึงถึงความชัดลึก เพราะปลาจะเคลื่อนไหวไปมา ถ้าตั้งความชัดตื้นจะได้ภาพที่ไม่หยุดนิ่งไหวพร่าได้ อย่างไรก็ตามควรตั้ง รูรับแสงให้กว้างกว่าปกติสัก 1 หรือ 2 เอฟสต๊อป เพื่อชดเชยแสงที่เกิดการสูญเสียจากการหักเหภายในน้ำ เนื่องจากปัจจุบันอุปกรณ์ประกอบแฟลชมีให้ผู้ใช้เลือกใช้ ตามความต้องการไม่ว่าจะเป็นแผ่นสะท้อนแสง ร่มสะท้อนแสง ตาไฟฟ้า (Slave Unit) ด้ามถือสายยาวเป็นต้น เพื่อให้การสร้างภาพได้สวยงามยิ่งขึ้น และสะดวกสบาย ในการถ่ายภาพผู้ใช้สามารถเลือกซื้อหาตามต้องการ

ฟิลม์ (Film)

ลักษณะของฟิล์ม
ฟิล์มเป็นวัสดุปร่งใสที่ฉาบ หรือเคลือบด้วยสารเคมีจำพวกไวแสง เมื่อสมัยปีค . ศ . 1727 Johann Schulze ได้พบว่าเกลือเงินไนเตรต (Silver Nitrate) มีความไวต่อแสง หากแต่มีความไวน้อย ภายหลังมีผู้ค้นพบวัสดุไวแสง มากกว่าเงินไนเตรต คือพวกเกลือเงินเฮไลด์ (Silver Halide) เงินคลอไรด์ (Silver Cloride) เงินโบรไมด์ (Silver Bromide) และเงินไอโอไดด์ (Silver Iodide) ดังนั้นสารไวแสงที่ฉาบบนแผ่นฟิล์มในปัจจุบันจึงใช้เกลือเงินไอโอไดด์ เพราะมีความไวต่อแสงสูง เก็บรายละเอียดของวัตถุที่บันทึกได้ดี และมีความคงทนมาก

โครงสร้างของฟิล์ม
ถ้าเรามองภาพตามขวางของแผ่นฟิล์มจะพบว่าฟิล์มแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ดังนี้ คือ
ชั้นที่ 1 เรียกว่า Protective Top Coat เป็นชั้นที่ฉาบไว้ด้วยสารเจลาติน (Geletin) เพื่อทำหน้าที่ป้องกัน การขีดข่วนที่อาจเกิดขึ้นได้กับเยื่อไวแสงของฟิล์ม
ชั้นที่ 2 เรียกว่า Light Sensitive Base หรือ Emulsion เป็นชั้นของสารไวแสงที่ฉาบยึดติดอยู่กับฐานของฟิล์ม ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำจะฉาบสารไวแสงประเภทขาวดำเอาไว้ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีก็จะมีสารไวแสงที่ให้สีเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเยื่อ ไวแสงนี้ จะทำหน้าที่บันทึกภาพที่ไม่สามารถมองเห็น (Latent Image) อันประกอบด้วยอะตอมของเงิน ประมาณ 3-6 อะตอม เมื่อนำไปล้างด้วยน้ำยาล้างฟิล์ม แล้วจะเกิดเป็นอะตอมเพิ่มถึง 100 เท่า เนื่องจากน้ำยาล้างภาพจะให้อิเลคตรอน แก่ไอออนของเงิน ก็ทำให้มองเห็นภาพได้
ชั้นที่ 3 เรียกว่า Plastic Film Base หรือ Suppport ชั้นนี้จะเป็นวัสดุโปร่งใสทำด้วยอาซีเตท (Cellulose Acetate) ใช้เป็นพื้นสำหรับฉาบด้วยสารไวแสงมีลักษณะใสเหนียวไม่ยืดหด และไม่ไวไฟ
ชั้นที่ 4 เรียกว่า Antihilation Backing ชั้นนี้จะฉาบด้วยสารที่ป้องกันแสงที่จะทะลุผ่านเนื้อฟิล์มออกไปแล้วสะท้อน กลับมาทำอันตรายฟิล์ม เกิดเป็น ภาพเงาซ้อนขึ้น




ได้กล่าวไว้ว่าชั้นที่ 2 เป็นชั้นของเยื่อไวแสงที่บันทึกภาพ ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีและฟิล์มสไลด์สีจะบันทึกสีต่าง ๆ สามสีด้วยกัน คือสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดงตามวัตถุสีที่ถ่ายนั้น อย่างไรก็ตามวัตถุที่ถ่ายอาจมีสีอื่น ๆ นอกจาก สามสีที่กล่าวมาแล้ว แต่สีต่าง ๆ นั้นก็เป็นการรวบรวมตัวของสีทั้ง 3 เช่น สีไชยัน (Cyan) หรือสีฟ้าก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินและสีเขียว สีม่วง หรือสีมาเยนต้า (Magenta) ก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินกับสีแดง สีเหลือง (Yellow) ก็เป็นการรวมตัวของสีเขียวและสีแดง ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นทฤษฎีสีของแสง

Protective Top Coat
Light Sensitive Base
Emulsion
Film Base
Antihilation Backing



สำหรับฟิล์มสีและฟิล์มที่ใช้ถ่ายทำสไลด์ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยชิ้นส่วนของสารเคมีที่ทำให้เกิดสีเป็นชั้น ๆ บนเซลลูลอยด์ หรืออาซีเตท ดังนี้
ชั้นที่ 1 ตัวยาไวแสงสีน้ำเงิน
ชั้นที่ 2 เจลาติน (Gelatin)
ชั้นที่ 3 ตัวยาไวแสงสีเขียว
ชั้นที่ 4 เจลาติน (Gelatin)
ชั้นที่ 5 ตัวยาไวแสงสีแดง
ชั้นที่ 6 เซลลูลอยด์ หรืออาซีเตท
ชั้นที่ 7 ตัวยาป้องกันแสงสะท้อนกลับ (Annihilation)
1. น้ำเงิน
2. เจลาติน
3. สีเขียว
4. เจลาติน
5. สีแดง
6. อาซีเตท
7. ป้องกันแสงสะท้อน
เมื่อฟิล์มได้รับการบันทึกภาพ ฟิล์มจะบันทึกภาพที่เป็นสีสรรตามความเป็นจริงคือ วัตถุสีแดงจะบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีแดง
- วัตถุสีเขียวจะบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีเขียวและ
- วัตถุสีน้ำเงินจะบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีน้ำเงิน นอกจากนั้นยังมีสีอื่น ๆ ที่ถูกบันทึกด้วยการรวมตัวของสีสองสีคือ
- วัตถุสีฟ้า เรียกว่า สีไชยัน (Cyan) จะถูกบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีน้ำเงินและสีเขียว
- วัตถุที่มีสีม่วง เรียกว่า สีมาเยนต้า (Magenta) จะถูกบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีแดงและสีน้ำเงิน
- วัตถุที่มีสีเหลือง (yellow) จะถูกบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีแดงและสีเขียว






ในการเลือกใช้ฟิล์มสีนั้น ควรระลึกเสมอว่าสีมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของคนมากแตกต่างกัน การใช้ฟิล์มสีถ่ายภาพวัตถุต่าง ๆ ควรพิจารณาว่าวัตถุที่ถ่ายนั้น มีสีสรรเช่นใด สีโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้
สีรุนแรง (Strong Color) เป็นสีที่จัดจ้าน ร้อนแรง สดใส ให้อารมณ์และบรรยากาศสนุกสนานรื่นเริง ส่วนมากเป็นพวกแม่สีทั้งหลายมาอยู่รวมกัน การใช้สีแบบนี้ถ่ายภาพควรระวังให้มากเพราะจะแบ่งความสนใจไปจากทุกสิ่งในภาพทั้งรูปทรง รายละเอียดและอาจทำให้จัดภาพไม่สมดุล แม่สีจะมีพลังสูงที่สุด โดยเฉพาะสีแดงพื้นที่เล็ก ๆ ของสีแดงจะดึงดูดความสนใจให้โดดเด่นจากภาพได้ ควรใช้สีรุนแรงช่วยเสริมจุดสนใจในภาพ โดยจำกัดจำนวนของสี และเพิ่มปริมาณพื้นที่ที่ไม่มีสีตัดกันรุนแรงเข้าไปในภาพ สีจะรุนแรงที่สุดเมื่อมีพื้นดำ เทาหรือขาวเป็นฉากหลังซึ่งการถ่ายภาพลักษณะให้ได้สีรุนแรงที่สุดดังกล่าว ควรใช้ไฟแฟลชให้แสงตรงและแรงหรือถ่ายกับแสงแดดจัด ๆ ก็ได้
สีตัดกัน (Contrast Color) เป็นสีที่ตรงข้ามในวงจรสี เช่นสีแดงกับสีเขียว สีเหลืองกับสีม่วง สีส้มกับสีน้ำเงินเมื่อนำมาใช้ด้วยกันจะทำให้เกิดความรู้สึก เร้าอารมณ์ เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง มีพลัง สีตัดกันอาจเป็นสีโทนร้อนกับเย็นหรือสีมืดกับสีสว่างก็ได้ การใช้สีตัดกันควรพิจารณาการจัดภาพและการสร้าง ความสมดุลในภาพให้ดี มิเช่นนั้นจะได้ภาพที่ไม่ดีด้วย
สีกลมกลืน (Harmony Color) เป็นสีนุ่มนวลไม่ตัดกันมาก ดูแล้วสบายตาสบายใจ ไม่มีแม่สีเข้าเกี่ยวข้อง ให้อารมณ์ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง และสงบการใช้ สีโทนเย็นจะกลมกลืนได้ดีกว่าสีโทนร้อน เช่นสีฟ้ากับสีเขียว สีฟ้ากับสีม่วง สีเหลืองกับสีส้ม
สีชุดเดียวกัน (Pre

dominant Color) เป็นสีชุดเดียวกัน ไล่ระดับอ่อนแก่ให้อารมณ์ได้หลายอย่าง แล้วแต่โทนของสี เช่นร้อนแรง เยือกเย็น เ หงาหงอยเป็นต้น สีที่มีพื้นที่มาก ๆ ในภาพเป็นสีที่มีความสำคัญที่สุด และภาพที่มีโทนเดียวเดี่ยว ๆ จะชักจูงอารมณ์คนดูให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ทุ่งหญ้าสีเขียว มีคนแต่งชุดเขียว ให้สีเขียวสะท้อนล้อกันในภาพ
สีกระโดด (Insolate Color) เป็นสีเดียวที่โดดเด่นขึ้นมาจากสีพื้น ส่วนใหญ่ สีที่โดดเด่นขึ้นมานั้นจะเป็นสีที่ตัดกันกับสีพื้น ทำให้สีนั้นเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ในภาพ จึงทำให้ภาพน่าสนใจ เช่น ภาพดอกไม้สีเหลืองดอกหนึ่ง แทรกอยู่กับภาพใบไม้สีเขียวเต็มกรอบภาพ สีกระโดดเช่นนี้ทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา สดใส สดสวยขึ้น




ชนิดของฟิล์ม
ฟิล์มที่ใช้ถ่ายภาพโดยทั่ว ๆ ไปแบ่งได้หลายประเภท หลายลักษณะต่างกัน คือ
1. แบ่งตามการแยกสี ได้แก่
1.1 ฟิล์มขาวดำ (Black and White Film) เป็นฟิล์มที่ฉาบด้วยเยื่อไวแสงที่ทำให้ภาพเป็นสีขาวดำเมื่อนำฟิล์ม ไปล้างครบกระบวนการ
1.2 ฟิล์มสี (Color Film) เป็นฟิล์มที่ฉาบด้วยเยื่อไวแสงที่ทำให้ภาพเป็นสีธรรมชาติเหมือนวัตถุจริงที่ถ่ายซึ่งสีหลัก
ที่เกิดขึ้นมีสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดง ส่วนสีรองคือ สีฟ้า สีม่วงและสีเหลือง

2. แบ่งตามกรรมวิธี ได้แก่
2.1 ฟิล์มเนกาตีฟ (Negative Film) เป็นฟิล์มที่มีเยื่อไวแสงเป็นตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ต้องนำไปอัดขยายตาม กระบวนการอีกทีหนึ่งจึงจะได้ภาพที่ตรงความเป็นจริง
2.2 ฟิล์มโพสิตีฟ (Positive Film) เป็นฟิล์มที่ใช้สำหรับอัดภาพจากเนกาตีฟเมื่อล้างตามขบวนการจะได้ ภาพที่มีสีตรงกับสีธรรมชาติของวัตถุจริง
2.3 ฟิล์มรีเวอร์ซัล (Reversal Film) เป็นฟิล์มที่มีเยื่อไวแสง ทั้งเนกาตีฟและโฟสิตีฟรวมกัน หลังจากนำไปล้าง ตามกระบวนการจะได้ภาพออกมามีลักษณะที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น สไลด์ ฟิล์มสตริฟ เป็นต้น




ได้กล่าวไว้ว่าชั้นที่ 2 เป็นชั้นของเยื่อไวแสงที่บันทึกภาพ ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีและฟิล์มสไลด์สีจะบันทึกสีต่าง ๆ สามสีด้วยกัน คือสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดงตามวัตถุสีที่ถ่ายนั้น อย่างไรก็ตามวัตถุที่ถ่ายอาจมีสีอื่น ๆ นอกจาก สามสีที่กล่าวมาแล้ว แต่สีต่าง ๆ นั้นก็เป็นการรวบรวมตัวของสีทั้ง 3 เช่น สีไชยัน (Cyan) หรือสีฟ้าก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินและสีเขียว สีม่วง หรือสีมาเยนต้า (Magenta) ก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินกับสีแดง สีเหลือง (Yellow) ก็เป็นการรวมตัวของสีเขียวและสีแดง ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นทฤษฎีสีของแสง

3. แบ่งตามการบันทึกภาพ ได้แก่
3.1 เนื้อของวัสดุ (Grain) ซึ่งมีเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ
3.2 เนกาติฟสีตัดกัน (Contrast) หมายถึง ความแตกต่างระหว่างสีดำกับสีขาว ซึ่งได้แก่ ชนิดสีตัดกันมาก และชนิดสีตัดกันน้อย
3.3 ช่วงที่พอเหมาะในการรับภาพ (Latitude) หมายถึงช่วงของแสงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความสามารถของการรับภาพของฟิล์ม ซึ่งขึ้นอยู่แกรมม่า ของฟิล์มแต่ละชนิด

4. แบ่งตามความไวสีโดยใช้ความไวสีของแสงเป็นเกณฑ์ มี 5 ชนิด ได้แก่
4.1 ชนิดบอดสี (Non-Color Sensitive, Color Blind) ฟิล์มชนิดนี้จะบอดต่อทุกสี แต่มีคุณสมบัติไวต่อแสงอุลตราไวโอเลต สีม่วงครามและสีน้ำเงินเท่านั้น ส่วนมากมักนิยมนำฟิล์มชนิดนี้ไปถ่ายภาพงานพิมพ์ ถ้าใช้ถ่ายรูปภาพทั่ว ๆ ไป เช่น ภาพวิวขาวดำ ท้องฟ้าจะปรากฏสีขาว ส่วนหญ้าจะเป็นสีดำ
4.2 ชนิดออโตโครเมติค (Orthochromatic) เป็นฟิล์มที่ไวต่อแสงอุลตราไวโอเลตสีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว แต่ไม่ไวต่อแสงสีแดง ดังนั้นจึงนิยมเรียก ฟิล์มชนิดนี้ว่าฟิล์มแดง ซึ่งใช้กับแว่นกรองแสงสีแดง หรือ ถ่ายภาพวัสดุสีแดงไม่ได้เลย เพราะภาพที่ได้จะมืดเนื่องจากฟิล์มชนิดนี้ไม่ทำปฏิกิริยากับแสงสีแดงฟิล์มชนิดนี้ มีชื่อลงท้ายว่า Chrome เช่น ซีโลโครม ของ Ilford และ Verichrome ของ Kodak เป็นต้น
4.3 ชนิดแพนโครเมติด (Panchromatic) เป็นฟิล์มที่มีความไวต่อแสงทุกสี ยกเว้นสีเขียวเท่านั้น ดังนั้นจึงเรียกว่า ฟิล์มเขียว ฟิล์มชนิดนี้มีชื่อขึ้นต้นว่า Pan เช่น Pan F ของ Ilford, Isopan ของ Agfa และ Plus-X Pan ของ Kodak เป็นต้น
4.4 ชนิดอินฟาเรด (Infared) เป็นฟิล์มที่สามารถบันทึกรังสี Infared ที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติที่สามารถตัดหมอกควัน ในท้องฟ้าให้ดูกระจ่างชัดขึ้น ฟิล์มชนิดนี้ไม่นิยมนำมาใช้ถ่ายภาพทั่วไป แต่นำไปใช้ถ่ายภาพทางอากาศทางการแพทย์ และทางการทหาร เพื่อพิสูจน์ข้อมูลพื้นที่ต่าง ๆ
4.5 ชนิดเอกซเรย์ (X-ray) เป็นฟิล์มที่ออกแบบขึ้นมา เพื่อใช้กับเครื่องเอกซเรย์โดยเฉพาะสามารถถ่ายภาพอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์ได้ เนื่องจากมีความไวแสงสูงมาก

5. แบ่งตามความไวแสงโดยยึดค่าความไวแสงที่เป็นตัวเลขเป็นเกณฑ์ที่มีอยู่ 4 ชนิดได้แก่
5.1 ประเภทความไวแสงต่ำ ปกติมีความไวแสงไม่เกิน ISO 50
5.2 ประเภทความไวแสงปานกลาง มีความไวแสงระหว่าง ISO 50 ถึง ISO 200
5.3 ประเภทความไวแสงสูง มีความไวแสงระหว่าง ISO 200 ถึง ISO 800
5.4 ประเภทความไวแสงสูงมากมีความไวแสงตั้งแต่ ISO 800 ขึ้นไป

6. แบ่งตามขนาดของฟิล์ม แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
6.1 ฟิล์มขนาดเล็ก เป็นฟิล์มที่มีขนาด จาก 35 มม . ลงมา
6.2 ฟิล์มขนาดกลาง เป็นฟิล์มที่มีขนาดตั้งแต่ 6 x 6 ซม . ขึ้นไปแต่เล็กกว่า 4 x 5 นิ้ว
6.3 ฟิล์มขนาดใหญ่ เป็นฟิล์มที่มีขนาดตั้งแต่ 4 x 5 นิ้วขึ้นไป


7. แบ่งตามลักษณะของวัสดุที่นำมาผลิตฟิล์ม ได้แก่
7.1 ฟิล์มม้วน (Roll film) เป็นฟิล์มที่หุ้มด้วยกระดาษทำเป็นม้วนยาวพันรอบแกน ได้แก่ ฟิล์ม 120, 127, 620 เป็นต้น นอกจากนั้นฟิล์มประเภทที่อยู่ในตลับ (Cartridge) เช่น 110, 126 และอีกชนิดหนึ่งที่เป็นฟิล์มม้วน คือฟิล์มประเภท 135 หรือที่รู้จักคือฟิล์ม 35 มม . ที่บรรจุอยู่ในกลัก (Cassette) ถ่ายภาพได้ 20, 24 และ 36 ภาพ กล้องบางชนิด เช่นครึ่งกรอบภาพ (Half Frame) อาจจะถ่ายภาพถึง 72 ภาพ
7.2 ฟิล์มแผ่น (Pack Film) เป็นฟิล์มอาซิเตทที่ทำเป็นแผ่น ๆ บรรจุอยู่ในกล่องขนาด 6 x 9 ซม . กล่องละ 12 แผ่น
7.3 ฟิล์มกระจก (Sheet and Plate Film) ฟิล์มชนิดนี้อาจเป็นฟิล์มอาซิเตทที่ทำเป็นแผ่น ๆ หรือเป็นฟิล์มกระจกก็ได้ มีขนาดตั้งแต่ 5.5 X 6 ซม . ถึง 50 X 60 ซม . ส่วนมากจะใช้กับกล้องใหญ่ในห้องสตูดิโอ 8. แบ่งตามลักษณะของแสงที่สัมพันธ์กับฟิล์มสี มีดังนี้คือ
8.1 ฟิล์มที่ใช้กับแสงแดดหรือแสงธรรมชาติหรือไฟแวบ (Daylight Type) มีอุณหภูมิสีของแสง
8.2 ฟิล์มที่ใช้กับแสงประดิษฐ์ (Tungsten Type) ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทคือ
8.2.1 Type A เป็นฟิล์มที่ใช้กับไฟถ่ายรูปที่มีอุณหภูมิสีของแสง 3400 องศาเคลวิน
8.2.2 Type B เป็นฟิล์มที่ใช้กับไฟถ่ายรูปที่มีอุณหภูมิสีของแสง 3200 องศาเคลวิน



วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เลนส์ (Lens)

โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งช่วงของเลนส์เป็น 3 ช่วงคือ มุมกว้าง(Wide angle) , มาตรฐาน(Normal) และ ถ่ายไกล(Telephoto)
โดยจะแบ่งจากทางยาวโฟกัสเทียบกับเส้นทะแยงมุมของ Image Sensor โดย ถ้าทางยาวโฟกัสมากกว่ามากกว่าเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์ถ่ายไกล(Telephoto lens)
ถ้าทางยาวโฟกัสเท่ากับเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์ระยะมาตรฐาน(Normal lens)
แต่ถ้ายาวโฟกัสมากกว่าน้อยกว่าเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์มุมกว้าง(Wide angle lens)







ซึ่งจากขนาดฟิล์มที่ 24*36 มม. ก็จะได้เส้นทะแยงมุมเท่ากับ 43 มม. แต่จำยาก เขาเลยกำหนดซะ ที่ 50 มม. ให้ถือว่าเป็นเลนส์ช่วงมาตรฐาน จะได้จำกันง่ายๆ ซึ่งก็จะทำให้กำหนดได้คร่าวๆ ว่า
ตั้งแต่ราวๆ 40 มม. ลงไป จะถือเป็นช่วง มุมกว้าง (Wide) เช่น 35mm , 20mm , 8mm
ช่วง 40 - 60 มม. ก็จะถือเป็นช่วง มาตรฐาน(Normal) เช่น 40mm 50mm 60mm
และที่มากกว่า 60 มม. ก็จะเป็นช่วง ถ่ายไกล(TelePhoto) เช่น 85mm , 100mm , 300mm , 600mm

ชนิดของเลนส์

นักประดิษฐ์เลนส์ถ่ายภาพ ได้พยายามพัฒนา ออกแบบ เลนส์ให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท โดยจำแนกประเภทของเลนส์ตามความยาวโฟกัส (Focal length) เลนส์ที่มีความยาว โฟกัสแตกต่างกัน จะให้ผลในการถ่ายภาพแตกต่างกันออกไป โดยมีเลนส์ขนาดหนึ่งใช้เป็นเลนส์ประจำกล้องเพื่อถ่ายภาพธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีองศาในการรับภาพใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์ในการมองทั่วไป และมีเลนส์ขนาด อื่นแตกต่างกันออกไปอีกทั้งชนิด ที่มีองศารับภาพกว้างเหมาะสำหรับถ่ายภาพภูมิทัศน์ (Landscape) และเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสแคบ แต่สามารถถ่ายภาพในระยะไกลได้ นอกจากนี้ยงมีเลนส์ชนิดพิเศษที่สามารถอำนวยความสะดวก ในการถ่ายภาพได้ลักษณะตามต้องการ โดยจำแนกชนิดของเลนส์ ดังนี้

1.เลนส์มาตรฐาน (Normal lens หรือ Standard lens)
เป็นเลนส์ประจำกล้อง ซึ่งเมื่อซื้อกล้องถ่ายภาพจะมี เลนส์ชนิดนี้ ติดมาด้วยเป็นเลนส์ที่ใช้ง่าย มีความยาวโฟกัส ระหว่าง 40-58 มม. ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 50 มม. (โดยวัดจากกึ่งกลางเลนส์ถึงฟิล์ม) เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้ในเรื่องการถ่ายภาพ เป็นเลนส์ที่มีองศาในการรับภาพ กว้างประมาณ 47 องศา ซึ่งใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์




เลนส์มาตรฐาน
(Normal lens หรือ Standard lens)
มีความยาวโฟกัสตั้งแต่ 40 - 58 มม. องศาในการรับภาพประมาณ 47 องศา เหมาะสำหรับถ่ายภาพทั่วไป

2.เลนส์มุมกว้าง (Wide-angle lens)
เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์มาตรฐาน และรับภาพได้มุมกว้างกว่า เหมาะสำหรับถ่ายภาพในสถานที่แคบหรือระยะห่างระหว่างกล้องถ่ายภาพ กับวัตถุที่จะถ่ายอยู่ใกล้กันแต่ต้องการเก็บภาพเป็น บริเวณกว้าง ซึ่งเลนส์ชนิดอื่นเก็บภาพได้ไม่หมด เหมาะสำหรับถ่ายภาพภูมิทัศน์(Land scape) หรือไม่ก็เอาไว้ถ่ายในสถานที่ๆมันมีพื้นที่จำกัด เช่นภาพสถาปัตยกรรมภายใน แต่จริงๆแล้วเอามาถ่ายอย่างอื่นนอกนั้นก็ได้ เช่นการถ่ายภาพบุคคลแนวชีวิต หรือไม่ก็พวกแนว street ที่เดินถ่ายตามท้องถนน บางทีเค้าก็เอามาสร้างภาพแนวแปลกๆ ย่างเช่นถ่ายหมาให้หัวโตๆเหมือน The Dog หรือภาพในลักษณะอื่น ๆ เลนส์ชนิดนี้มีความชัดลึกสูงมาก คือแสดงให้เห็นระยะชัดตั้งแต่ใกล้สุดถึงไกลสุดได้ดี แต่ต้องระวังในเรื่องของสัดส่วนระยะ (Perspective) ต่าง ๆ จะเกิดการผิดเพี้ยน (Distortion) ถ้าความยาวโฟกัสยิ่งสั้นมากยิ่งผิดเพี้ยนมากขึ้น คือ ภาพจะมีความโค้งเป็นรัศมีวงกลมเลนส์มุมกว้าง แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ


เลนส์มุมกว้างธรรมดา
(Moderate Wide-angle lens)
มีความยาวโฟกัสระหว่าง28-35 มม. มีมุมองศาในการรับภาพระหว่าง 74-62 องศา


เลนส์มุมกว้างมาก
(Ultra Wide-angle lens)
มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 13 -24 มม. มีมุมองศาในการรับภาพ 118-84 องศา


เลนส์มุมกว้างพิเศษ หรือเลนส์ตาปลา
(Fisheye lens)
มีความยาวโฟกัสน้อยมาก คืออยู่ระหว่าง 6 - 16 มม. มีมุมองศาในการรับภาพ 180-360องศาภาพที่ได้จะมีลักษณะโค้งกลมนิยมใช้สำหรับการถ่ายภาพในลักษณะสร้างสรรค์และแปลกตา


3. เลนส์ถ่ายภาพไกล (Telephoto lens)
เลนส์ชนิดนี้มีคุณสมบัติตรงข้ามกับเลนส์มุมกว้าง คือ มีความยาวโฟกัสยาวกว่าเลนส์มาตรฐานและเลนส์มุมกว้าง มีมุมรับภาพแคบเฉพาะส่วนหนึ่งเท่านั้น เมื่อรับภาพในระยะและตำแหน่งเดียวกันจะทำให้ภาพที่บันทึกได้มีขนาดใหญ่กว่าการใช้เลนส์ธรรมดาและเลนส์มุมกว้า
เลนส์ถ่ายภาพไกล มีขนาดความยาวโฟกัสตกต่างกันหลายขนาด จาก 70 มม. ถึง 2,000 มม. มีมุมองศาการรับภาพตั้งแต่ 34-3 องศา เพื่อใช้ประโยชน์ต่างกัน ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามความยาวโฟกัสได้ดังนี้
1. เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงสั้น (Short Telephoto lens) มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 70-135มม. มีมุมองศาในการรับภาพกว้างประมาณ 34-18 องศา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทั่ว ๆ ไป เช่น ภาพบุคคล ภาพภูมิทัศน์ ภาพถ่ายระยะใกล้ เป็นต้น
2. เลนส์ถ่ายภาพไกลปานกลาง (Medium Telephoto lens) มีขนาดความยางโฟกัสอยู่ระหว่าง 150-300 มม. มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 18-8 องศา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ไม่สามารถเข้าใกล้วัตถุที่จะถ่ายได้ เช่น สัตว์ในกรง วัตถุที่อยู่ที่สูงพอสมควร เป็นต้น
3. เลนส์ถ่ายภาพช่วงไกล (Long Telephoto lens) มีความยางโฟกัสระหว่าง 400-600 มม. มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 6-4 องศา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่อยู่ไกล เช่น นกบนต้นไม้ การแข่งขันกีฬา เป็นต้น
4. เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงพิเศษ (Super Long Telephoto lens) มีความยางโฟกัสระหว่าง 800-2,000 มม. มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 3-1 องศา เท่านั้น สำหรับภาพที่ต้องการกำลังขยายมาก เช่น ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ภาพถ่ายบนตึกสูง เป็นต้น เลนส์พวกนี้จะน้ำหนักมากเป็นพิเศษ ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพ



เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงสั้น
(Short Telephoto lens)
ขนาด 135 มม



เลนส์ถ่ายภาพไกลปานกลาง
(Medium Telephoto lens)
ขนาด 300 มม.


เลนส์ถ่ายภาพช่วงไกล
(Long Telephoto lens)
ขนาด 600 มม.

เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงพิเศษ
(Super Long Telephoto lens)
ขนาด 1,000 มม

4. เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะ (Zoom lens)

หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า เลนส์ซูม เลนส์ชนิดนี้เป็น ที่นิยม อย่างมากเพราะใช้สะดวก มีเลนส์รวมกันอยู่หลายชนิดในตัวเดียว สามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้ในตัว ด้วยการเลื่อนกระบอกเลนส์ (สำหรับเลนส์แบบวงแหวนเดียว)หรือการหมุนวงแหวน ปรับระยะ (สำหรับเลนส์แบบสองวงแหวน) ไม่ต้องคอยเปลี่ยนเลนส์บ่อย ๆ เหมือนกับเลนส์ชนิดความยาวโฟกัสคงที่ แต่เนื่องจากเลนส์ชนิดนี้มีชิ้นเลนส์มาก จึงทำให้ความคมชัดลดลงเล็กน้อย จึงไม่เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการขยายใหญ่มาก ๆ แต่ก็เป็นเลนส์ที่มีผู้นิยมใช้กันมากตามเหตุผลที่ได้กล่าวมา เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะ หรือเลนส์ซูมนี้ มีหลายขนาดให้เลือกใช้ โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภท คือ
1.เลนส์ซูมช่วงมุมกว้าง (Wide angle Zoom) มีช่วงขนาดความยาวโฟกัสสั้น รับภาพได้มุมกว้าง เช่นขนาด 20 -35 มม. 24-35 มม. 24-50 มม. เหมาะสำหรับการใช้งานในการถ่ายภาพมุมกว้าง
2. เลนส์ซูมช่วงสั้น (Short Zoom) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสตั้งแต่ขนาดสั้นถึงปานกลาง โดยจะมีเลนส์ขนดมาตรฐานรวมอยู่ด้วย เป็นเลนส์ซูมที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด และราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับเลนส์ซูมขนาดอื่น ๆ กล้องถ่ายภาพของบางบริษัทจะใช้เลนส์ซูมประเภทนี้แทนเลนส์มาตรฐาน มีช่วงความยาวโฟกัสที่นิยมใช้ คือ ขนาด 35-70 มม. 35-105 มม. 35-135 มม. เป็นต้น
3. เลนส์ซูมช่วงไกล (Telephoto Zoom) เป็นเลนส์ซูมที่มีความยาวโฟกัสสูงกว่าเลนส์สองประเภทที่ได้กล่าวมา โดยมีขนาดที่นิยมใช้ คือ 80-200 มม. 100-300 มม. สำหรับใช้งานแทนเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล เลนส์ประเภทนี้จะมีน้ำหนักมาก ผู้ใช้ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญในการใช้ เพราะอาจทำให้กล้องสั่นไหวได้ง่าย
4. เลนส์ซูมช่วงไกลพิเศษ (Super Telephoto Zoom) เป็นเลนส์ซูมที่มีช่วงความยาวโฟกัสสูงมาก เหมาะสำหรับผู้ที่ถ่ายภาพเฉพาะด้าน เช่น ช่างภาพที่ถ่ายภาพกีฬาบางประเภท เช่น ฟุตบอล แข่งรถ นักถ่ายภาพสารคดี หรือนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ก็นิยมใช้เลนส์ประเภทนี้ เลนส์ซูมประเภทนี้ มีขนาดช่วงความยาวโฟกัสที่นิยมใช้ คือ 80-400 มม. 400-800 มม. 360-1200 มม. เป็นต้น
นอกจากเลนส์ซูมทั้ง 4 ประเภทที่ได้กล่าวมาแล้ว บางบริษัทยังได้ผลิตเลนส์ซูมประเภทอื่น ๆ อีก เช่น มาโครซูม (Macro Zoom) สำหรับถ่ายภาพระยะใกล้ หรือเลนส์ซูมที่เป็นเลนส์รวมตั้งแต่เลนส์มุมกว้างถึงเลนส์ถ่ยภาพระยะไกลปานกลาง เช่น ขนาดความยาวโฟกัส 28-20 มม. 35-200 มม.ดังนั้นการเลือกใช้เลนส์ชนิดนี้ควรคำนึงถึงความจำเป็นในการใช้งานและสะดวกเป็นสำคัญเพราะเลนส์ที่มีช่วงความยาวโฟกัสห่างกันมากเท่าใดก็จะมีน้ำหนักมากขึ้นและราคาก็จะสูงขึ้นไปด้วย


ภาพเลนส์ซูมช่วงมุมกว้าง
(Wide angle Zoom)
ขนาดความยาวโฟกัส 20-35 มม


เลนส์ซูมช่วงสั้น (Short Zoom)
ขนาดความยาวโฟกัส 35-70 มม.


เลนส์ซูมช่วงไกล (Telephoto Zoom)
ขนาดความยาวโฟกัส 80-200 มม.


เลนส์ซูมช่วงไกลพิเศษ
(Super Telephoto Zoom)
ขนาดความยาวโฟกัส 80-400 มม.

5. เลนส์ภาพถ่ายใกล้ (Macro lens) เลนส์ถ่ายภาพใกล้หรือที่เรียกว่ามาโครเลนส์

เป็นเลนส์ชนิดที่สามารถถ่ายภาพในระยะใกล้ ๆ ได้มากเป็นพิเศษ ให้อัตราขยายของภาพได้ดีกว่าเลนส์ชนิดอื่น ๆ เหมาะสำหรับถ่ายภาพวัตถุที่มีขนาดเล็ก เช่น แมลง ดอกไม้ เครื่องประดับ หรือวัตถุอื่น ๆ ที่ต้องการความคมชัดและให้เห็นรายละเอียดมาก ซึ่งเลนส์ชนิดอื่นทำไม่ได้ และยังสามารถใช้ถ่ายภาพทั่ว ๆ ไปได้เช่นเดียวกับเลนส์ชนิดอื่น ๆ ที่มีขนาดความยาวโฟกัสเท่ากัน
เลนส์มาโคร มีขนาดความ ยาวโฟกัสหลายขนาด ที่ใช้ทั่วไปมีตั้งแต่ 50 มม.55 มม.85 มม.105 มม.โดยมีอัตราขยายของภาพมีอัตราส่วน คือ 1:2 (ขนาดภาพที่ปรากฏบนฟิล์มจะมีขนาดครึ่งเท่าของวัตถุ)หรือ 1:1 (ขนาดภาพที่ปรากฏบนฟิล์มจะมีขนาดกันกับวัตถุ) เมื่อเทียบขนาดของวัตถุและภาพที่ปรากฏบนฟิล์ม





(บน) เลนส์มาโคร ขนาด 55 มม. (ล่าง) ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มาโคร

จากเลนส์ทั้ง 5 ชนิดที่ได้กล่าวมา เป็นเลนส์ที่นิยมใช้กันทั่วไป อีกทั้งยังได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเลนส์ ให้มีความทันสมัยละมีความสะดวกขึ้น เช่น มีการปรับระยะชัดแบบอัตโนมัติ (Auto focus) การปรับเพิ่ม ลดรูรับแสงอัตโนมัติ การนำเอาระบบสะท้อนด้วยกระจกมาใช้เพื่อลดความยาวของเลนส์ถ่ายภาพระยะไกลที่มีความยาวโฟกัสสูง ๆ ให้มีขนาดสั้นลง หรือเลนส์มุมกว้างที่มีการแก้ระนาบภาพเอียง

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กล้องและอุปกรณ์การถ่ายภาพ

อุปกรณ์การถ่ายภาพ ประกอบด้วย

1.เลนส์



2.ฟิล์ม



3.แฟลช




4.ฟิลเตอร์



5.สายลั่นไกล/ชัตเตอร์




6.เครื่องวัดแสง



7.บังแสงเลนส์



8.ขาตั้งกล้อง

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขั้นตอนทั้งหมดของการสร้างแผนที่


ขั้นตอนทั้งหมดของการสร้างแผนที่การสร้างแผนที่ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด สำหรับพื้นที่บริเวณเล็กๆ ที่ไม่ต้องการความถูกต้องมากนักเราสามารถใช้วิธีการสำรวจด้วยเท้าและเครื่องมือแบบง่ายๆ เพื่อวัดระยะทาง ทิศทาง พิกัดตำแหน่งและลักษณะทางภูมิศาสตร์หรือสิ่งก่อสร้างที่ปราฎแล้วบันทึกข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำมาสร้างเป็นแผนที่
การสร้างแผนที่ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด สำหรับพื้นที่บริเวณใหญ่ๆ คือการสร้างแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography) โดยมีขั้นตอนการสร้างแผนที่ ดังนี้

1.บินถ่ายภาพพื้นที่ที่ต้องการสร้างแผนที่ ด้วยเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์ โดยจะบินถ่ายเป็นแนวเส้นตรงให้ได้ภาพเรียงต่อๆกันไปเรื่อยๆ จนครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ทั้งนี้จะต้องมีส่วนทับซ้อน (Overlap) ของภาพไม่น้อยกว่า 60% ของแต่ละภาพ เพื่อนำภาพเหล่านั้นมาขึ้นรูป 3 มิติ และสามารถวัดมุมราบและตำแหน่งที่ถูกต้องของวัตถุที่ปรากฎอยู่บนภาพได้

2.นำภาพถ่ายทางอากาศที่ได้ มาทำการปรับแก้ความเอียงของภาพ (Rectification) เพราะในขณะที่เครื่องบินถ่ายภาพบนท้องฟ้า จะมีการเอียงตัวเกิดขึ้น เนื่องจากกระแสลมหรือปัจจัยต่างๆ ดังนั้นภาพที่ได้มาจะยังมีมุมที่บิดเบี้ยวไม่ถูกต้อง จึงต้องใช้เทคโนโลยีในการปรับแก้ความเอียงของภาพให้มีความถูกต้องเสียก่อน สำหรับการแก้ความเอียงของภาพ จะใช้วิธีการสร้างจุดควบคุมภาพถ่าย โดยการหาตำแหน่งบนภาพที่จะใช้เป็นหมุดอ้างอิงภาคพื้นดิน เช่นหมุดควบคุมทางราบ ด้วยการเรียงและซ้อนภาพถ่ายทางอากาศ และเลือกจุดที่มองเห็นได้ชัดเจนบนภาพถ่ายสามารถทำรังวัดในภาคสนามได้สะดวก และเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบและถาวร

3.เมื่อได้หมุดควบคุมที่จะใช้เป็นหมุดอ้างอิงบนภาพแล้ว ก็จะถึงขั้นตอนในการสำรวจบนพื้นที่จริง หรือการลงภาคสนามในตำแหน่งของจุดต่างๆ ที่เลือกไว้เพื่อหาค่าพิกัดอ้างอิงให้กับภาพ ซึ่งอาจจะใช้ระบบพิกัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ คือพิกัดละติจูด และลองติจูด หรือระบบพิกัดฉาก UTM แล้วจึงนำค่าจากหมุดอ้างอิงเหล่านั้นมาใช้อ้างอิงในการระบุพิกัดตำแหน่งให้กับทุกๆตำแหน่งบนภาพในพื้นที่ทั้งหมด

4.เมื่อการสำรวจภาคสนามเสร็จสิ้น ก็จะถึงขั้นตอนสุดท้าย ในการนำเข้าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจลงในแผนที่ที่ทำการเขียนลายเส้นแผนที่ไว้แล้วให้เสร็จสมบูรณ์ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประเภทของภาพถ่ายดาวเทียม IKONOS

ภาพถ่ายแบบ Orthorectified

Standard Ortho
ภาพถ่ายดาวเทียม IKONOS แบบ Standard Ortho จัดเป็นภาพถ่ายระดับแรกของกลุ่มภาพ Orthorecitfied โดยภาพ Standard Ortho นั้นเป็นภาพถ่ายดาวเทียม IKONOS รุ่นใหม่ล่าสุด ที่เหมาะสำหรับโครงการผลิตแผนที่ที่มีงบประมาณจำกัด แต่ก็ยังคงต้องรักษาระดับความถูกต้องของแผนที่ไว้ ภาพ Standard Ortho มีความถูกต้องอยู่ในระดับมาตราส่วน 1:100,000 ของมาตรฐานความถูกต้องของแผนที่ซึ่งกำหนดขึ้นโดยประเทศสหรัฐอเมริกา (National Map Accuracy Standard: NMAS) ภาพ Standard Ortho มีความถูกต้องในเชิงตำแหน่งสูงกว่าภาพในกลุ่ม Georectified นอกจากนี้ภาพ Standard Ortho สามารถจัดส่งถึงมือผู้ใช้ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วในราคาที่ย่อมเยากว่าภาพถ่ายดาวเทียมประเภทอื่นๆ ในกลุ่ม Orthorectified อีกด้วย
ความถูกต้องในเชิงตำแหน่ง CE90 – 50 เมตร; RMS – 25 เมตร,
ความถูกต้องที่มาตราส่วน 1:100,000 กำหนดโดย NMAS
ขนาดของจุดภาพ 1 เมตรในกรณีภาพสี และ 4 เมตรในกรณีภาพขาวดำ
การปรับแก้ ผ่านกระบวนการนี้
มุมเงยขณะถ่ายภาพ 60 – 90 องศา
(ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่า ต้องการภาพดาวเทียมที่มีมุมถ่ายในช่วง 72-90 องศา)
การต่อประสานภาพ ผ่านกระบวนการนี้
ค่าหมุดอ้างอิงในการปรับแก้พิกัด (RPC) ไม่ใช้ในการผลิตภาพ
จุดควบคุมภาคพื้นดิน (GCP) ไม่ใช้ในการผลิตภาพ
DEM ใช้ข้อมูล DEM ของโลก ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งจัดทำโดยบริษัท Space Imaging ในการผลิตภาพ
ลักษณะงานที่เหมาะสม งานผลิตแผนที่ทั่วไป
การให้บริการ SISEA ให้บริการ

Reference
ภาพถ่ายดาวเทียม IKONOS แบบ Reference เหมาะสำหรับการผลิตแผนที่ในระดับภูมิภาค ซึ่งต้องการภาพ Orthorectified ที่มีความถูกต้องอยู่ที่ระดับมาตรส่วน 1:50,000 เป็นต้นแบบในการผลิต ภาพ Reference ผ่านกระบวนการปรับแก้ความผิดพลาดของภาพเนื่องจากความสูงของภูมิประเทศ และได้ผ่านกระบวนการต่อประสานภาพแล้ว (Mosaic) มีความถูกต้องอย่างน้อยที่สุด 25 เมตร ตามมาตรฐาน CE 90
ความถูกต้องในเชิงตำแหน่ง CE90 – 25.4 เมตร; RMS – 11.8 เมตร,
ความถูกต้องที่มาตราส่วน 1:50,000 กำหนดโดยNMAS
ขนาดของจุดภาพ 1 เมตรในกรณีภาพสี และ 4 เมตรในกรณีภาพขาวดำ
การปรับแก้ ผ่านกระบวนการนี้
มุมเงยขณะถ่ายภาพ 60 – 90 องศา
(ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่า ต้องการภาพดาวเทียมที่มีมุมถ่ายในช่วง 72-90 องศา)
การต่อประสานภาพ ภาพ Reference ผ่านกระบวนการนี้
ค่าหมุดอ้างอิงในการปรับแก้พิกัด (RPC) ไม่ใช้ในการผลิตภาพ
จุดควบคุมภาคพื้นดิน (GCP) ไม่ใช้ในการผลิตภาพ
DEM ใช้ในการผลิตภาพ
ลักษณะงานที่เหมาะสม งานผลิตแผนที่มาตราส่วนใหญ่ในระดับภูมิภาค และงานประยุกต์ทั่วไปเกี่ยวกับระบบ GIS
การให้บริการ SISEA ให้บริการ

Proภาพถ่ายดาวเทียม IKONOS แบบ Pro เหมาะสำหรับลักษณะงานที่ต้องการภาพดาวเทียมที่มีรายละเอียดสูงและมีความถูกต้องอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากการสร้างจุดควบคุมภาคพื้นดินนั้น มีค่าใช้จ่ายสูงและทำได้ยากดังนั้นในการผลิตภาพ Orthorectified ที่มีความถูกต้องระดับ Pro จึงมิได้ใช้จุดควบคุมภาคพื้นดิน ภาพ Pro จึงถือว่าเป็นภาพ Orthorectified ที่มีความถูกต้องมากที่สุด โดยที่ไม่ได้อาศัยจุดควบคุมภาคพื้นดินในกระบวนการผลิตภาพ ภาพ Pro มีความถูกต้องในระดับมาตราส่วน 1:12,000 ตามมาตรฐาน NMAS และมีระดับความถูกต้องอยู่ที่ 10 เมตรตามมาตรฐาน CE 90 การบันทึกภาพ Geo กระทำที่มุมเงย 66-90 องศา ซึ่งเป็นสูงกว่าการบันทึกภาพดาวเทียมประเภทอื่นๆ ดังนั้นผู้ใช้จึงมั่นใจได้ว่าภาพ Pro มีความถูกต้องในเชิงตำแหน่งเพิ่มขึ้นมากกว่าผลิตภัณฑ์ภาพ Orthorectified อื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้จุดควบคุมภาคพื้นดิน ดังที่ได้กล่าวข้างต้น
ความถูกต้องในเชิงตำแหน่ง CE90 – 10.2 เมตร; RMS – 4.8 เมตร,
ความถูกต้องที่มาตราส่วน 1:12,000 กำหนดโดยNMAS
ขนาดของจุดภาพ 1 เมตรในกรณีภาพสี และ 4 เมตรในกรณีภาพขาวดำ
การปรับแก้ ผ่านกระบวนการนี้
มุมเงยขณะถ่ายภาพ 66 – 90 องศา
การต่อประสานภาพ ใช้ในการผลิตภาพ
ค่าหมุดอ้างอิงในการปรับแก้พิกัด (RPC) ไม่ใช้ในการผลิตภาพ
จุดควบคุมภาคพื้นดิน (GCP) ไม่ใช้ในการผลิตภาพ
DEM ใช้ในการผลิตภาพ
ลักษณะงานที่เหมาะสม งานวางแผนด้านการขนส่ง วางแผนระบบสาธารณูปโภค และงานวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจต่างๆ
การให้บริการ SISEA ให้บริการ

Precisionภาพถ่ายดาวเทียม IKONOS แบบ Precision เหมาะสำหรับงานด้านการวางผังเมืองขนาดใหญ่และการวางผังภาค ซึ่งต้องการข้อมูลที่มีความถูกต้องในระดับมาตราส่วน 1:4,800 ตามมาตรฐาน NMAS ในการเก็บข้อมูลภาพ Precision กล้องที่ติดอยู่กับอากาศยานจะบันทึกภาพด้วยมุมที่ค่อนข้างสูง นั่นคือ 72-90 องศา ประกอบกับการใช้จุดควบคุมภาพบนพื้นดิน และ แบบจำลองแสดงความสูงของภูมิประเทศเชิงเลขที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้มั่นใจว่าภาพ Precision มีความถูกต้องในเชิงตำแหน่งสูง
ความถูกต้องในเชิงตำแหน่ง CE90 – 4.1 เมตร; RMS – 1.9 เมตร,
ความถูกต้องที่มาตราส่วน 1:4,800 กำหนดโดย NMAS
ขนาดของจุดภาพ 1 เมตรในกรณีภาพสี และ 4 เมตรในกรณีภาพขาวดำ
การปรับแก้ ผ่านกระบวนการนี้
มุมเงยขณะถ่ายภาพ 72 – 90 องศา
การต่อประสานภาพ ผ่านกระบวนการนี้
ค่าหมุดอ้างอิงในการปรับแก้พิกัด (RPC) ไม่ใช้ในการผลิตภาพ
จุดควบคุมภาคพื้นดิน (GCP) ใช้ในการผลิตภาพ
DEM ใช้ในการผลิตภาพ
ลักษณะงานที่เหมาะสม งานวางผังเมืองซึ่งต้องอาศัยภาพดาวเทียมที่มีความถูกต้องทางตำแหน่งสูง
การให้บริการ SISEA ให้บริการ

PrecisionPlus
ภาพถ่ายดาวเทียม IKONOS แบบ Precision Plus เป็นภาพ Orthorectified ที่มีความถูกต้องในเชิงตำแหน่งมากที่สุด เหมาะสำหรับงานด้านการวางผังเมือง การรังวัดออกโฉนดที่ดิน และการผลิตแผนที่สาธารณูปโภค ในการผลิตภาพดาวเทียมที่มีความถูกต้องสูงเช่นนี้ จำเป็นต้องอาศัยจุดควบคุมภาคพื้นดินและแบบจำลองภูมิประเทศที่มีความถูกต้องสูง ภาพ Precision Plus มีความถูกต้องอยู่ที่ 2 เมตร ในระบบ CE 90 มีจำหน่ายในรูปแบบภาพขาวดำและภาพสีที่มีรายละเอียดของจุดภาพเท่ากับ 1 เมตร
ความถูกต้องในเชิงตำแหน่ง CE90 – 2.0 เมตร; RMS – 0.9 เมตร, ความ
ถูกต้องที่มาตราส่วน 1:2,400 กำหนดโดย NMAS
ขนาดของจุดภาพ 1 เมตรทั้งภาพสีและภาพขาวดำ
การปรับแก้ ผ่านกระบวนการนี้
มุมเงยขณะถ่ายภาพ 72 – 90 องศา
การต่อประสานภาพ ผ่านกระบวนการนี้
ค่าหมุดอ้างอิงในการปรับแก้พิกัด (RPC) ไม่ใช้ในการผลิตภาพ
จุดควบคุมภาคพื้นดิน (GCP) ใช้ในการผลิตภาพ
DEM ใช้ในการผลิตภาพ
ลักษณะงานที่เหมาะสม งานวิเคราะห์รายละเอียดเกี่ยวกับเมือง การรังวัดที่ดิน และ การผลิตแผนที่สาธารณูปโภคต่างๆ
การให้บริการ SISEA ให้บริการ

ภาพถ่ายแบบ Stereo
ภาพ Stereo ที่มีจำหน่ายขณะนี้ เป็นประเภทที่มีรายละเอียดจุดภาพ 1 เมตรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ภาพ Stereo จำหน่ายเป็นคู่ๆ พร้อมกับไฟล์ข้อมูล RPC Camera Model เพื่อไว้สำหรับใช้กับซอฟท์แวร์มาตรฐานทางด้านโฟโตแกรมเมตตรี่ ในการหาค่าพิกัดแบบ3 มิติ การสร้างแบบจำลองระดับสูงภูมิประเทศ (DEM) และสำหรับการผลิตภาพ Orthorectified ภาพ Stereo แต่ละคู่ประกอบด้วย ภาพ 2 ภาพ โดยภาพหนึ่งใช้มุมเงยในการถ่ายภาพต่ำ (สูงกว่า 60 องศา) และอีกภาพหนึ่งใช้มุมเงยในการถ่ายภาพสูง (สูงกว่า 72 องศา) โดยมุมระหว่างตำแหน่งของดาวเทียมในการถ่ายภาพทั้งสองครั้ง มีขนาดประมาณ 30 ถึง 45 องศา (มีอัตราส่วนระยะฐานต่อความสูงอยู่ระหว่าง 0.54-0.83)

Reference Stereo
ความถูกต้องในเชิงตำแหน่ง CE90 – 25 เมตรในแนวราบ และ LE90 – 22 เมตรในแนวดิ่ง,
มีความถูกต้องที่มาตราส่วน 1:50,000 ซึ่งกำหนดโดย NMAS
ขนาดของจุดภาพ 1 เมตรทั้งภาพสีและภาพขาวดำ
มุมเงยขณะถ่ายภาพ 60 – 72 องศา
การต่อประสานภาพ ผ่านกระบวนการนี้
ค่าหมุดอ้างอิงในการปรับแก้พิกัด (RPC) ่ใช้ในการผลิตภาพ
จุดควบคุมภาคพื้นดิน (GCP) ไม่ใช้ในการผลิตภาพ
DEM ไม่ใช้ในการผลิตภาพ
ลักษณะงานที่เหมาะสม หาค่าพิกัด 3 มิติ สร้างแบบจำลองระดับสูงของภูมิประเทศเชิงเลข และ การผลิตภาพ Orthorectified ด้วยกระบวนการทางโฟโตแกรมเมตตรี่
การให้บริการ SISEA ให้บริการ

Precision Stereo
ความถูกต้องในเชิงตำแหน่ง CE90 – 4 เมตรในแนวราบ และ LE90 – 5 เมตรในแนวดิ่ง,
มีความถูกต้องที่มาตราส่วน 1:4,800 ซึ่งกำหนดโดย NMAS
ขนาดของจุดภาพ 1 เมตรทั้งภาพสีและภาพขาวดำ
มุมเงยขณะถ่ายภาพ 60 – 72 องศา
การต่อประสานภาพ ผ่านกระบวนการนี้
ค่าหมุดอ้างอิงในการปรับแก้พิกัด (RPC) ่ใช้ในการผลิตภาพ
จุดควบคุมภาคพื้นดิน (GCP) ใช้ในการผลิตภาพ
DEM ไม่ใช้ในการผลิตภาพ
ลักษณะงานที่เหมาะสม หาค่าพิกัด 3 มิติ สร้างแบบจำลองระดับสูงของภูมิประเทศเชิงเลข และ การผลิตภาพ Orthorectified ด้วยกระบวนการทางโฟโตแกรมเมตตรี่
การให้บริการ SISEA ให้บริการ