วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แฟลช (Flash Light)

.........ไฟแฟลชเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการถ่ายภาพ ช่วยให้สามารถถ่ายภาพในที่ ๆ มีแสงสว่างน้อย หรือใน เวลากลางคืนให้ได้ภาพชัดเจน มีสีสันถูกต้องตามความเป็นจริง นอกจากนั้นสามารถใช้แฟลชเพื่อถ่ายภาพ และสร้างสรรค์ งานถ่ายภาพให้น่าสนใจ โดยใช้เทคนิคอื่น ๆ มาประกอบด้วย

หากแบ่งประเภทตามลักษณะการทำงานของแฟลชแล้วสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. แฟลชหลอด (Bulb Flash)
2. แฟลชอิเลคโทรนิค (Electronic Flash)


1. แฟลชหลอด (Bulb Flash)




แฟลชหลอด (Bulb Flash)


ประกอบด้วยตัวหลอดที่ทำด้วยแก้วใสบางฉาบด้วยพลาสติคใสสีฟ้าหรือสีน้ำเงินภายในหลอดบรรจุด้วยลวดโลหะพวกอลูมิเนียม (Aluminium) หรือเซอร์โคเนียม (Zirconium) ทำเป็นเส้นเล็ก ๆ มากมาย และมีก๊าซออกซิเจนช่วยในการเผาไหม้ ภายในจะมีใส้หลอด เมื่อใส้หลอดลุกไหม้ถึงที่สุด (Peak) แล้วจะค่อย ๆ ดับลง ซึ่งความสว่าง (Flash Duration) นั้นอยู่ระหว่าง 1/200 ถึง 1/25 วินาที มีจานสะท้อนแสงเป็นตัวสะท้อน และอีกชนิดหนึ่ง เป็นแบบลูกเต๋า (Cube) ภายในบรรจุหลอดเล็ก ๆ 4 หลอดเมื่อหลอดใดทำงานตัวแฟลชจะหมุนไป นอกจากนั้นอาจมีแฟลชที่เรียงลำดับแถว เรียกว่า ฟลิปแฟลช (FlipFlash) อย่างไรก็ตามถ้าหากจะแยกช่วงเวลาของความสว่างเป็นเกณฑ์แล้ว แฟลชหลอดมีอยู่ 4 พวก คือ
1. F (Fast Peak) มีช่วงความสว่างสั้นมากและแรงส่องสว่างค่อนข้างน้อย ความสว่างถึงจุดสูงสุดภายในเวลา 0.005-0.009 วินาที นับจากการกดสวิทช์ ดังนั้นเมื่อใช้ความเร็วกับแฟลชชนิดนี้ สามารถใช้กับความเร็วของชัตเตอร์ได้สูงถึง 1/100 หรือ 1/125 วินาที
2. M (Medium Peak) ให้ความสว่างนานกว่าประเภทแรก และช่วงเวลาในการลุกไหม้ปานกลาง คือ ให้ความสว่างถึงจุดสูงสุดภายในเวลา 00.18-00. 24 วินาที ฉะนั้นใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ไม่เกิน 1/50 ปกติจะใช้ 1/60 วินาที แต่ถ้าหากอยากให้สว่างมากกว่านั้นอาจใช้ 1/30 วินาทีก็ได้
3. S (Slow Peak) ให้ความสว่างถึงจุดสูงสุดภายในเวลา 0.03 วินาที ถือได้ว่าเป็นการลุกไหม้นานที่สุดและให้กำลังส่องสว่างสูงมากเหมาะสำหรับ การใช้กล้องในสตูดิโอ และการใช้เทคนิคในการถ่ายภาพแบบเปิดแฟลช (Open Flash) โดยไม่ต้องต่อสายแฟลชความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะกับแฟลชชนิดนี้ประมาณ ไม่เกิน 1/25 หรือ 1/30 วินาที
4. FP (Focal Plane) ให้แสงในช่วงลุกไหม้อย่างสม่ำเสมอให้ความสว่างถึงขีดสูงสุด ภายในเวลา 0.016-0.018 วินาที เหมาะในการใช้กับกล้องแบบ ม่านชัตเตอร์ใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ 1/60 วินาที

2. แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic flase)






แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic flase)


ผู้ที่คิดค้นได้สำเร็จ และนำมาใช้เป็นคนแรก คือ ฮาโรลด์ อี เอดเจอร์ตัน (Dr.Harold EEdgerton) กั บผู้ร่วมงานของเขาแห่งสถาบัน MIT เขาให้ชื่อสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า Kodatron Speed Lamp แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนามาอย่างรวดเร็วบางชนิดมีตาอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ควบคุมปริมาณของแสงให้ออกมาพอดีกับระยะการถ่ายภาพได้ซึ่งโอกาสที่จะทำให้ได้แสงไม่พอดีเกือบไม่มีเลยแฟลชอิเล็กทรอนิกส์มีขนาดให้เลือกได้ตามต้องการ และกำลังส่องสว่างแตกต่างกันไป ปกติจะมีอายุการใช้งานเกินกว่า 10,000 ครั้งขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการระวังรักษา แฟลชชนิดนี้จะมีแบตเตอรี่แห้งเป็นตัวจ่ายพลังงาน ให้บรรจุลงในคอนเดนเซอร์ และทำให้แฟลชทำงาน ช่วงเวลาส่องสว่างของแสงสั้นมากประมาณ 1/500 ถึง 1/2000 วินาที
หลอดแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ทำด้วยแก้วควอร์ตซ์ (Quartz) ภายในหลอดบรรจุด้วยก๊าซเฉื่อย พวกซีนอน (Xenon) อาร์กอน (Argon) หรือ คริปตอน (Krypton) หรือก๊าซผสมของก๊าซดังกล่าวนั้น ภายในตัวแฟลชมีตัวเก็บประจุ (Capacitor) หรือ (Condenser) ซึ่งจะใช้แรงดันไฟฟ้าประมาณ 500-2,000 โวลท์ ในการอัดประจุเมื่อแฟลชทำงาน ทริกเกอร์อิเลคโทรด (Trigger Elec-trode) ที่อยู่ทั้ง 2 ข้างของหลอดแฟลช จะทำให้เกิดแรงคลื่นไฟฟ้าสูงออกมาผ่านก๊าซเฉื่อย และกระแสจะแตกตัวเป็นไอออน ทำให้คายพลังงานออกมาเป็นแสงส่องสว่างได้ในปริมาณแสง 4,500 ลูเมน - วินาที สำหรับแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ขนาดปานกลาง

แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้อง SLR 35 มม . แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. แฟลชระบบธรรมดา ปกติจะมีขนาดเล็กราคาไม่แพงใช้พลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ขนาด 1.5 โวลท์ จำนวน 2 หรือ 4 ก้อนให้ความสว่างพอสมควรใช้ถ่ายภาพ ในระยะห่างมากไม่ค่อยได้ผลนัก ที่ตัวแฟลชจะมีตารางแนะนำขนาดของรูรับแสง โดยตั้งเทียบกับความไวแสงของฟิล์มและระยะห่างในการถ่ายภาพ แฟลชชนิดนี้เหมาะ ในการนำติดตัวไปใช้ในงานที่ไม่ต้องการกำลังไฟฟ้าสว่างมากนัก หรืออาจนำไปใช้เป็นแฟลชประกอบกับแฟลชตัวอื่นได้

2. แฟลชระบบอัตโนมัติ เป็นแฟลชที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายแบบให้เลือกตามต้องการ และตามลักษณะการใช้งานตั้งแต่ ระดับมือสมัครเล่นจนถึงมืออาชีพแฟลชชนิดนี้จะปรับกำลังความสว่างของแสงโดยอัตโนมัติ ให้พอดีกับระยะความห่างของแต่ละช่วง ระยะที่แฟลชกำหนดมาปกติจะ กำหนดมาประมาณ 3-4 ระยะ อาจใช้สีต่าง ๆ แทนช่วงระยะห่างของแต่ละช่วง แฟลชชนิดนี้ทำงานด้วยระบบที่เรียกว่า ไธริสเตอร์ (Thyristor) ซึ่งเป็นเซลล์ไวแสงทำหน้าที่อ่านปริมาณของแสงแฟลชที่ส่งออกไปกระทบกับวัตถุที่ถ่ายแล้ว สะท้อนกลับมายังเซลล์ไวแสง เมื่อปริมาณที่ส่องออกไปพอดี สวิทซ์ภายในระบบไธริสเตอร์ก็จะตัดกระแสไฟที่จ่ายไปยังไส้หลอดไฟแฟลชออกอย่างรวดเร็วโดยอัตโนมัติ จะทำให้ปริมาณแสงที่ส่องออกไปพอดีกับขนาดของรูรับแสง ที่กำหนดไว้และที่ตัวประจุไฟ (Capacitor) ในตัวแฟลชจะมีกำลังไฟสำรองไว้ตลอดเวลา สามารถให้แสงต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วและมากครั้งกว่าแฟลชระบบธรรมดา นอกจากนั้นแฟลชชนิดนี้ยังมีระบบการให้แสงแบบธรรมดาเหมือนแบบแรกได้ด้วย แฟลชชนิดนี้แบ่งตามขนาดได้ 3 ชนิด คือ


2.1 แฟลชขนาดเล็ก เป็นแฟลชที่มีลักษณะกระทัดรัด ใช้กับแบตเตอรี่ชนิด 1.5 โวลท์ 2 หรือ 4 ก้อน มีระบบอัตโนมัติที่ปรับความสว่างของแสง ให้สัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่กำหนดได้ประมาณ 2 ระดับ มีไกด์นัมเบอร์เมื่อใช้ระบบธรรมดาระหว่าง 45-90 ต่อระยะเป็นฟุตกับฟิล์มที่มีความไวแสง 100 แฟลช ประเภทนี้ส่วนมากจะใช้เสียบกับฐานแฟลชบนกล้องได้เลยโดยไม่ต่อสายเพราะเป็นระบบปุ่มสัมผัสบนฐาน แฟลช (Hot Shoe) นอกจากนั้นอาจปรับหัวแฟลชให้ หันซ้าย - ขวา ก้มเงย เพื่อการสะท้อนแสงได้ด้วย
2.2 แฟลชขนาดกลาง เป็นแฟลชที่มีลักษณะการใช้งานกว้างขึ้น มีระบบอัตโนมัติปรับความสว่างของแสงให้สัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่กำหนดได้ ประมาณ 2-4 ระดับบางรุ่นอาจได้ถึง 6 ระดับ ใช้กับแบตเตอรี่ชนิด 1.5 โวลท์ 4 ถึง 6 ก้อน มีไกด์นัมเบอร์เมื่อใช้ระบบธรรมดาระหว่าง 80 -135 ต่อระยะเป็นฟุตกับฟิล์ม ที่มีความไวแสง 100 นอกจากสามารถปรับ ซ้าย - ขวา ก้มเงย หัวแฟลชเพื่อการสะท้อนแสงและมีระบบปุ่มสัมผัสบนฐานแฟลช (Hot Shoe) แล้วยังมีสวิทซ์ที่ปรับเปลี่ยน การใช้กำลังไฟส่องสว่างได้หลายระดับอีกด้วย ซึ่งอาจบอกเป็นสัญญานไฟ ตัวเลขดิจิตอล หรือตารางการเปลี่ยนแปลง และยังสามารถปรับมุมสว่างของแสงให้กว้าง และแคบได้ แฟลชชนิดนี้บางรุ่นยังมีดวงไฟสำหรับให้แสงถึง 2 ดวงในตัวเดียวกัน คือ ดวงใหญ่ที่หัวแฟลช ดวงเล็กที่หน้าแฟลชเพื่อช่วยให้แสงลบเงาได้ภาพที่ดีขึ้น
2.3 แฟลชขนาดใหญ่มีด้ามจับ เป็นแฟลชที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากขึ้นมีด้ามจับต่อจากหัวแฟลช เพื่อใช้ยึดติดกับแขนรองรับร่วมกับตัวกล้อง หรืออาจจับ ด้ามถือแยกจากตัวกล้องได้ ความสว่างของแสงแรงกว่า 2 แบบแรก แฟลชประเภทนี้ รุ่นเก่ามีหม้อแบตเตอรี่แยกออกจากหัวแฟลช แต่ปัจจุบันนี้ได้ออกแบบให้อยู่ที่ตัวด้าม จับใช้แบตเตอรี่ขนาด 1.5 โวลท์ ประมาณ 4,6 หรือ 8 ก้อน มีระบบอัตโนมัติที่ปรับความสว่างของแสงให้สัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่กำหนดได้ 2-6 ระดับมีไกด์นัมเบอร์ เมื่อใช้ระบบธรรมดาระหว่าง 100-190 ต่อระยะเป็นฟุตกับฟิล์มที่มีความไวแสง 100 มีวงจรประหยัดไฟให้แสงได้ต่อเนื่องรวดเร็วทันใจและมากครั้งขึ้น บางรุ่นมีที่ปรับมุมส่องสว่างให้กว้างหรือแคบได้ และปรับหัวแฟลชให้หันซ้าย - ขวา ก้มเงยได้ตามต้องการ และอาจมีอุปกรณ์ประกอบแฟลชมากยิ่งขึ้น

ได้กล่าวไว้ว่าชั้นที่ 2 เป็นชั้นของเยื่อไวแสงที่บันทึกภาพ ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีและฟิล์มสไลด์สีจะบันทึกสีต่าง ๆ สามสีด้วยกัน คือสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดงตามวัตถุสีที่ถ่ายนั้น อย่างไรก็ตามวัตถุที่ถ่ายอาจมีสีอื่น ๆ นอกจาก สามสีที่กล่าวมาแล้ว แต่สีต่าง ๆ นั้นก็เป็นการรวบรวมตัวของสีทั้ง 3 เช่น สีไชยัน (Cyan) หรือสีฟ้าก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินและสีเขียว สีม่วง หรือสีมาเยนต้า (Magenta) ก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินกับสีแดง สีเหลือง (Yellow) ก็เป็นการรวมตัวของสีเขียวและสีแดง ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นทฤษฎีสีของแสง







นอกจากแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ระบบอัตโนมัติที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า แฟลชระบบดิดีเคท (Dedicate) นอกจากจะมีระบบเหมือนกับที่กล่าวมาแล้ว ยังมีระบบพิเศษที่ควบคุมการทำงานให้สัมพันธ์กับการทำงานของกล้อง แต่ละรุ่นที่มีระบบการทำงานร่วมกันได้ โดยเมื่อติดแฟลชแล้วกล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ ให้สัมพันธ์กับไฟแฟลชเอง โดยอัตโนมัติและแสดงสัญญานไฟที่จอภาพหรืออาจมีเสียงสัญญานเตือนเมื่อแฟลชพร้อมที่จะใช้งาน นอกจากนั้นกล้องบางรุ่น ยังมีระบบวัดแสง แฟลชผ่านเลนส์ (Through the Len Auto Flash) ทำงานร่วมกับแฟลช โดยกล้องจะปรับรูรับแสงเอง หรือแฟลชจะปรับการส่องสว่างของแสงเอง โดยอัตโนมัติแฟลชแบบนี้ยังสามารถใช้กับกล้องที่ไม่ทำงานสัมพันธ์กับแฟลชได้อีกด้วย ดังนั้นแฟลชที่จำหน่ายในปัจจุบันจึงนิยมนำระบบ Dedicate เพื่อให้สัมพันธ์กับกล้องบางรุ่นด้วยแต่ก็ยังมีแฟลชที่ไม่สัมพันธ์ในระบบดังกล่าวกับกล้องรุ่นใดเลย หากแต่ใช้เป็นระบบอัตโนมัติและระบบธรรมดาเท่านั้น


การคำนวนหาแฟลชไกด์นัมเบอร์

แฟลชไกด์นัมเบอร์ (Flash Guide Number) หรือแฟลชแฟคเตอร์ (Flash Factor) คือ ตัวเลขนำของแฟลชที่แสดงถึงความสามารถของกำลังส่องสว่างของแฟลชนั้น ๆ และตัวเลขนำนี้มีประโยชน์ ในการใช้คำนวนหาการเปิดขนาดรูรับแสงที่พอดีซึ่งสัมพันธ์กับระยะทางจากไฟแฟลช ถึงวัตถุถ่ายภาพมีสูตรดังนี้

- ไกด์นัมเบอร์ (GN) = ขนาดของรูรับแสง (F-Stop) x ระยะทาง ( ฟุตหรือเมตร ) (Distance) หรือ
- ไกด์นัมเบอร์ (GN) ขนาดรูรับแสง (F-Stop) = ระยะทาง ( ฟุต , เมตร ) (Distance)

โดยปกติบริษัทผู้ผลิตไฟแฟลช จะเป็นผู้กำหนดไกด์นัมเบอร์บอกมาพร้อมกับตัวแฟลช ซึ่งอาจไม่ตรงตามที่บอกนัก ด้วยเหตุผลในการจำหน่าย ซึ่งไกด์นัมเบอร์ที่บอกมานั้นจะบอกว่าสัมพันธ์กับความไวแสงของฟิล์มชนิดใดด้วย เพื่อตรวจสอบให้เกิด ความมั่นใจในคุณภาพของแฟลชเราสามารถทดสอบหาไกด์นัมเบอร์ได้ดังนี้
บรรจุฟิล์มที่มีความไวแสงเท่ากับ ที่บริษัทบอกมาเช่น ISO 100 เสร็จแล้วกำหนดระยะห่างจากแฟลช ถึงวัตถุ ที่ถ่าย เช่น 10 ฟุต ถ่ายภาพโดยการตั้งรูรับแสงหลาย ๆ ขนาดเลือกดูภาพที่เห็นว่าแสงพอดีที่สุดเช่น ภาพที่ถ่ายด้วย รูรับแสง 8 ดังนั้น ไกด์นัมเบอร์ที่ถูกต้องของแฟลชที่ใช้ คือ

GN = F-Stop x Distance
GN = 8 x 10
= 80
เมื่อเราทราบไกด์นัมเบอร์ของแฟลชที่เราใช้อยู่ ความสะดวกสบายในการหาขนาดรูรับแสงก็จะมากขึ้นแน่นอนขึ้น เช่น แฟลชของเรามีไกด์นัมเบอร์ 80 ถ้าถ่ายภาพ ระยะห่างจากแฟลชถึงวัตถุ 20 ฟุต จะใช้ขนาดรูรับแสงเท่าใด เราก็ สามารถหาได้ตามสูตร คือ
GN
F-Stop= .
Distace
80
F-Stop=. 20
= 4

ดังนั้นขนาดของรูรับแสงที่ได้คือ 4 ก็เปิดหน้ากล้อง 4 แล้วดำเนินการถ่ายภาพได้อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงฉากหลังด้วย ถ้ามืดเกินไป หรือไม่มีผนังสะท้อน ของแสงกลับมา ควรเปิดหน้ากล้องมากยิ่งขึ้นและในทางตรงกันข้ามฉากหลังสีขาว หรือสีอ่อนที่สามารถสะท้อนกลับคืนได้อาจจะเปิดหน้ากล้องให้แคบลงอีก

วิธีใช้แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ในการถ่ายภาพ และข้อปฏิบัติอื่น ๆ

1. ตั้งค่าความไวแสงของฟิล์มที่ตัวแฟลช โดยการหมุนแว่นวงกลมที่มีตัวเลขบอกค่าความไวแสงของฟิล์มให้ตรงกับเครื่องหมายลูกศรชี้ตามที่แฟลชกำหนด
2. นำสายแฟลชเสียบเข้าที่รูเสียบแฟลชของกล้อง ถ้ากล้องมีสองรูให้เสียบที่รูมีเครื่องหมาย X
3. ตั้งความเร็วชัดเตอร์ของกล้อง ให้ตรงกับที่คู่มือกล้องแนะนำเมื่อใช้แฟลชอาจเป็น 30 60 125 หรือ 250 ซึ่งกล้องบางตัวจะมีเครื่องหมายบอกไว้เช่น X หรือ อื่น ๆ ถ้าไม่ทราบว่ากล้องนั้นสัมพันธ์กับแฟลชที่ความเร็วชัดเตอร์ใดอาจตั้งไว้ที่ 30 หรือ 60 ได้
4. การตั้งขนาดรูรับแสง (F-Stop) ให้ใช้ค่าที่ได้จากตัวแฟลชหรือการคำนวณพิจารณาจากไกด์นัมเบอร์ และระยะทาง หรืออาจใช้เครื่องวัดแสงแฟลชเฉพาะได้ (Flash Light Meter)
5. ปรับระยะชัดหรือเรียกว่าปรับโฟกัสให้ภาพคมชัดไม่พร่ามัว
6. เปิดสวิทซ์ไฟที่แบตเตอรี่ของแฟลชเพื่อให้ไฟชาร์จเข้าหลอดจนกระทั่งมีไฟบอกความพร้อม (Pilot Lamp) ปรากฎขึ้นโดยทั่วไปใช้เวลา 4 ถึง 15 วินาที
7. จัดองค์ประกอบของภาพให้สวยงามตามหลักศิลปะในการถ่ายภาพ
8. กดลั่นไกชัตเตอร์ถ่ายภาพได้อย่างไรก็ตามมีข้อคำนึงในการใช้แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ คือ

1. เตรียมแบตเตอรี่ให้พร้อม และเป็นแบตเตอรี่ที่ใหม่สดเสมอ จึงจะให้ภาพที่มีคุณภาพดี แฟลชบางตัวอาจใช้เสียบไฟบ้านได้ ต้องเสียบสายให้พร้อมถ้าต้องการใช้ไฟบ้าน
2. การใช้แฟลชทุกครั้งต้องรอไฟเตือนความพร้อมเสียก่อน มิฉะนั้นความสว่างของแสงที่ส่องออกไปอาจจะไม่สว่างเต็มความสามารถของแฟลช
3. ถ้าถ่ายภาพเสร็จทุกครั้ง ควรปิดสวิทซ์ไฟ เพื่อเป็นการประหยัดกำลังไฟและแบตเตอรี่เมื่อจะถ่ายต่อไปจึงค่อยเปิดสวิทซ์ใหม่
4. ถ้าไม่ใช้งานเป็นเวลานาน ก่อนเก็บแฟลชควรเปิดสวิทซ์ให้ไฟเตือนความพร้อม (Pilot lamp) สว่างขึ้นเสร็จแล้วปิดสวิทซ์ ไม่ควรกดให้แสงวาบ ออกไปทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยการเก็บประจุของ Capacitor หรือ Condensor ให้ทำงานถูกต้องเสมอและเมื่อเก็บไว้นาน ๆ ควรถอดแบตเตอรี่ออกจากตัวแฟลชด้วย หลังจากเก็บไว้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ก่อนใช้งานควรกดแสงวาบออกไปสักหลาย ๆ ครั้งก่อนเพื่อทำให้ Capacitor ทำงานเต็มความสามารถ เรียกวิธีการนี้ว่า รีฟอร์มิ่ง Re-Forming
5. ควรระมัดระวังอย่าให้แฟลชตกกระทบพื้น หรือกระแทกเพราะจะทำให้เสียหายได้

เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

แฟลชไกด์นัมเบอร์ (Flash Guide Number) หรือแฟลชแฟคเตอร์ (Flash Factor) คือ ตัวเลขนำของแฟลชที่แสดงถึงความสามารถของกำลังส่องสว่างของแฟลชนั้น ๆ และตัวเลขนำนี้มีประโยชน์ ในการใช้คำนวนหาการเปิดขนาดรูรับแสงที่พอดีซึ่งสัมพันธ์กับระยะทางจากไฟแฟลช ถึงวัตถุถ่ายภาพมีสูตรดังนี้

1. การส่องแสงแฟลชทางอ้อม (Indirect Flash) หรืออาจเรียกว่าแฟลชสะท้อน (Bounce Flash) คือ การใช้แสงแฟลชที่สะท้อนจากเพดานกำแพงหรือ แผ่นสะท้อนโดยเฉพาะ เพื่อการถ่ายภาพ ลำแสงที่ตกกระทบเพดานกำแพงหรือแผ่นสะท้อนลงบนวัตถุจะมีลักษณะนุ่มและกระจาย (Diffused Light) ช่วยขจัดเงาดำ หรือแสงที่แข็งกระด้างข้อควรระวังในเรื่องนี้ก็ คือ การตั้งหน้ากล้องหรือขนาดของรูรับแสง ควรเพิ่มให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณ 2 เอฟ สตอปจากการคำนวนได้ตามวิธีปกติ อย่างไรก็ตามถ้าใช้กระดาษแข็งสีขาวติดบนแฟลชเพื่อสะท้อนแสง กระดาษควรห่างจากแฟลชประมาณ 13 ซม . และตั้งมุมของกระดาษที่จะสามารถสะท้อนแสงให้ตกลงบนวัตถุได้ถูกต้อง แผ่นกระดาษสีขาวยังช่วยสะท้อนแสงแฟลชไปยังดวงตาให้เกิดแววในดวงตาอีกด้วย

2. การลดแสงแฟลชให้นุ่มนวลขึ้น (Diffusing Flash) ในกรณีที่ต้องการลดแสงแฟลชให้นุ่มนวลขึ้นควรใช้แผ่นกรองแสงบังหน้าแฟลชไว้ซึ่งแผ่นกรองแสงนี้ มีลักษณะเป็นพลาสติคใสอาจใช้วัสดุอื่น ๆ แทนได้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า กระดาษเช็ดเลนส์ ถุงน่องของสุภาพสตรี เป็นต้น ควรใช้ยางหรือเชือกยึดติดตัวแฟลชให้แข็งแรง การตั้งขนาดรูรับแสงควรเพิ่มให้มีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณ 1-2 เอฟสต๊อปจากการคำนวนได้ตามวิธีการปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนา หรือบางของวัสดุ ที่บังหน้าแฟลช ภาพที่ได้จะมีลักษณะนุ่มนวล เพราะแสงไม่จ้าหรือแข็งเกินไป

3. การใช้แฟลชเสริม (Fill In Flash, Environmental Flash) ในบางครั้งการถ่ายภาพกลางวันขณะที่มีแดดจัด ๆ ทำให้ตาหยี มีเงาดำมากทำให้ ได้ภาพที่ไม่สวยงาม อาจใช้แฟลชช่วยลดเงา หรือเป็นแสงเสริมดวงอาทิตย์ เพื่อลบเงาที่ไม่ต้องการได้ ซึ่งลักษณะนี้ต้องการแสงแฟลชประมาณ ? หรือ ? เท่าของ แสงแฟลชที่ใช้ในยามปกติ การเปิดขนาดรูรับแสงนั้นให้ใช้ขนาดเดียวกันกับที่ถ่ายด้วยแสงแดดอย่างเดียว หากแต่จะต้องคำนวณหาระยะทางที่เป็นที่ตั้งของแฟลช โดยเอาค่าของขนาดรูรับแสงหารด้วยไกด์นัมเบอร์ก็จะเป็นระยะห่างของตำแหน่งของแฟลชหรือของกล้องด้วยเมื่อติดแฟลชไว้บนตัวกล้องลักษณะนี้ แสงอาทิตย์และ แสงแฟลชจะมีความเข้มเท่ากัน ถ้าต้องการภาพสวยงามขึ้น อาจให้แสงอาทิตย์ส่องหลังวัตถุ และแฟลชส่องด้านหน้าจะได้ภาพที่มีความสวยงามนุ่มนวลแปลกตาเพราะ มีแสงสีขาวรอบ ๆ วัตถุด้วย ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ความเข้มของแสงของแฟลช เท่ากับแสงดวงอาทิตย์ อาจใช้ผ้าเช็ดหน้าหุ้มหลอดแฟลชช่วยลดความสว่างลงได้

4. การใช้แฟลชโดยไม่ต่อสายเข้ากล้อง Painting With Flash, Open Flash ในกรณีที่ต้องการแสงแฟลชส่องสว่างให้แก่ภาพอย่างทั่วถึงทุกซอกทุกมุม ในเวลาถ่ายภาพกลางคืน หรือฉากที่มีแสงสว่างไม่พอ แต่ฉากนั้นมีความกว้างใหญ่มีพื้นที่มากแสงแฟลชไปไม่ถึง สามารถถ่ายภาพได้โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า การเปิดแฟลชโดยไม่ต่อสายเข้ากล้อง วิธีทำก็ คือเปิดรูรับแสงไว้ที่ B หรือ T (Time Exposure) แล้วฉายแสงแฟลชซ้อนเข้าไปในภาพนั้น ๆ อาจฉายแสงได้มากครั้ง ตามที่ต้องการ โดยที่กล้องต้องผนึกให้แข็งแรงบนขาตั้งและการฉายแสงแฟลชอาจใช้ ฟิลเตอร์สีต่าง ๆ ช่วยให้ภาพมีสีสันสวยงามตามจินตนาการได้ ในการเปิดรูรับแสงนั้น ให้ใช้หลักการคำนวณ โดยใช้ระยะทางจากแฟลชถึงวัตถุที่ถ่ายหารด้วยไกด์นัมเบอร์เช่นเดียวกันกับการใช้แฟลชปกติ ข้อควรคำนึงในการใช้เทคนิคนี้ก็ คือหลีกเลี่ยงการ ฉายแสงแฟลชเข้าหน้าเลนส์ถ่ายภาพเพราะจะทำให้เกิดแสงเป็นวง (Flare) ในภาพได้

5. การใช้แฟลชกับแว่นกรองแสง สีต่าง ๆ (Filtered Flash) ดังที่ทราบมาแล้วว่าแสงแฟลชจะมีอุณหภูมิสีของแสงใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ ดังนั้นเมื่อใช้กับ ฟิล์มถ่ายภาพกลางวัน (Daylight) จะได้ภาพสีธรรมชาติเราสามารถสร้างอารมณ์ในภาพให้เกิดสีสันต่าง ๆ ได้โดยการสวมฟิลเตอร์เข้าที่หน้าแฟลชเพื่อให้การ ฉายแสงมีสีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสีอุ่นหรือสีเย็นได้ตามต้องการ และการสวมฟิลเตอร์ที่แฟลชจะไม่ทำให้สีธรรมชาติของแสงอื่น ๆ เปลี่ยนไป แตกต่างกับการสวมฟิลเตอร์ ที่หน้าเลนส์ จะมีผลกระทบต่อแสงส่วนรวม ฟิลเตอร์ที่นำมาครอบแฟลช อาจใช้ฟิลเตอร์แผ่นจำพวกฟิลเตอร์ช่วยในการอัดภาพเรียกว่า CP (Color Printing) ฟิลเตอร์แก้ไขสี CC (Color Compensating) หรือฟิลเตอร์แก้ไขแสง (Light Balancing) ก็ได้ ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านถ่ายภาพทั่วไป หรืออาจจะประดิษฐ์ขึ้นมา ใช้เองก็ได้ โดยการนำแผ่น อาซีเดทใสชนิดด้าน มาระบายด้วยสีน้ำ สีเทียนหรือ สีเพิ่มเติมภาพก็จะได้ฟิลเตอร์ครอบแฟลชที่ใช้งานได้มีข้อคำนึงคือ เมื่อใช้ฟิลเตอร์ครอบ หน้าแฟลช รูรับแสงต้องเปิดชดเชย ให้มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการสูญเสียจากการกลืนแสงของฟิลเตอร์
ข้อแนะนำในการเปิดรูรับแสงเพิ่มเติม คือถ้าใช้ฟิลเตอร์สีแดงเปิดเพิ่ม 2 เอฟสต๊อป สีเขียว หรือน้ำเงิน เพิ่ม 1 เอฟสต๊อป สีน้ำเงินอ่อน สีส้ม หรือ สีม่วง เพิ่ม 1/2 เอฟสต๊อป แต่ถ้าเป็นสีเหลืองไม่ต้องเพิ่มขนาดของรูรับแสง

6. การใช้แฟลช 2 ดวง (Multiple Flash) ในบางครั้งอาจใช้แฟลชดวงเดียวทำให้ภาพที่ได้ไม่สวยงาม เพราะมีเงามากความตัดกันของแสงสูง ขาดรายละเอียดที่จำเป็น ดังนั้นอาจใช้แฟลชอีกดวงหนึ่งเพิ่มเติม โดยแฟลชตัวแรกเรียกว่าเป็นแสงหลัก (Main Light) ติดตั้งไว้ใกล้วัตถุ และอีกตัวหนึ่งติดตั้งไว้ ที่กล้องห่างจากวัตถุออกไป เรียกว่าเป็นแสงเพิ่ม (Fill Light) การใช้แฟลชสองดวง อาจใช้การต่อสายหรือเครื่องช่วยเปิดแสงแฟลช (Slave-Unit) โดยไม่จำเป็นต้อง ต่อสายก็ได้ ข้อคำนึงคือ อัตราส่วนของแสงของแฟลชทั้งสองตัว ถ้าต้องการอัตราส่วนระหว่างแสงหลัก และแสงเพิ่มเป็นอัตราส่วน 2:1 ควรให้ตำแหน่งของแสง หลักห่างจากวัตถุ 8 ฟุต แสงเพิ่ม 11 ฟุต ถ้าอัตราส่วน 3:1 ระยะห่าง 6.3 และ 11 ฟุต แต่ถ้าต้องการอัตราส่วน 4:1 ระยะห่าง 5.6 และ 11 ฟุตตามลำดับ

7. การใช้แฟลชกับวัตถุที่เคลื่อนที่ ในบางครั้งการถ่ายภาพวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวต้องใช้ความไวชัตเตอร์สูงมาก โดยเฉพาะการใช้ฟิล์มชนิดที่มีความไวต่ำ ทำให้ไม่สะดวกสบายในการถ่ายภาพ ในการแก้ไขอาจใช้แฟลชเข้าช่วยได้โดยการเปิดความไวชัตเตอร์ตามที่เหมาะสมสำหรับกล้องที่ใช้ และเปิดรูรับแสงตามที่คำนวณได้ จากระยะห่างจากแฟลชถึงวัตถุที่ถ่าย ก็จะได้ภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวนั้นคมชัด หยุดการเคลื่อนไหวได้และยังมีแฟลชพิเศษ ที่มีช่วงความสว่างของแสงสั้นและเร็วมาก ๆ สามารถถ่ายภาพลูกปืนวิ่งผ่านวัตถุ ลูกธนูวิ่งหาเป้าเหล่านี้ให้หยุดนิ่งได้

8. การใช้แฟลชถ่ายภาพปลาในตู้กระจกวิธีใช้แฟลชในการถ่ายภาพปลาในตู้กระจก ควรให้ตำแหน่งของแสงแฟลชส่องจากข้างบนตู้ปลาและกล้องถ่าย อยู่ด้านหน้าของตู้ปลาในการตั้งรูรับแสงควรคำนึงถึงความชัดลึก เพราะปลาจะเคลื่อนไหวไปมา ถ้าตั้งความชัดตื้นจะได้ภาพที่ไม่หยุดนิ่งไหวพร่าได้ อย่างไรก็ตามควรตั้ง รูรับแสงให้กว้างกว่าปกติสัก 1 หรือ 2 เอฟสต๊อป เพื่อชดเชยแสงที่เกิดการสูญเสียจากการหักเหภายในน้ำ เนื่องจากปัจจุบันอุปกรณ์ประกอบแฟลชมีให้ผู้ใช้เลือกใช้ ตามความต้องการไม่ว่าจะเป็นแผ่นสะท้อนแสง ร่มสะท้อนแสง ตาไฟฟ้า (Slave Unit) ด้ามถือสายยาวเป็นต้น เพื่อให้การสร้างภาพได้สวยงามยิ่งขึ้น และสะดวกสบาย ในการถ่ายภาพผู้ใช้สามารถเลือกซื้อหาตามต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น