วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


ฟิลม์ (Film)

ลักษณะของฟิล์ม
ฟิล์มเป็นวัสดุปร่งใสที่ฉาบ หรือเคลือบด้วยสารเคมีจำพวกไวแสง เมื่อสมัยปีค . ศ . 1727 Johann Schulze ได้พบว่าเกลือเงินไนเตรต (Silver Nitrate) มีความไวต่อแสง หากแต่มีความไวน้อย ภายหลังมีผู้ค้นพบวัสดุไวแสง มากกว่าเงินไนเตรต คือพวกเกลือเงินเฮไลด์ (Silver Halide) เงินคลอไรด์ (Silver Cloride) เงินโบรไมด์ (Silver Bromide) และเงินไอโอไดด์ (Silver Iodide) ดังนั้นสารไวแสงที่ฉาบบนแผ่นฟิล์มในปัจจุบันจึงใช้เกลือเงินไอโอไดด์ เพราะมีความไวต่อแสงสูง เก็บรายละเอียดของวัตถุที่บันทึกได้ดี และมีความคงทนมาก

โครงสร้างของฟิล์ม
ถ้าเรามองภาพตามขวางของแผ่นฟิล์มจะพบว่าฟิล์มแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ดังนี้ คือ
ชั้นที่ 1 เรียกว่า Protective Top Coat เป็นชั้นที่ฉาบไว้ด้วยสารเจลาติน (Geletin) เพื่อทำหน้าที่ป้องกัน การขีดข่วนที่อาจเกิดขึ้นได้กับเยื่อไวแสงของฟิล์ม
ชั้นที่ 2 เรียกว่า Light Sensitive Base หรือ Emulsion เป็นชั้นของสารไวแสงที่ฉาบยึดติดอยู่กับฐานของฟิล์ม ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำจะฉาบสารไวแสงประเภทขาวดำเอาไว้ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีก็จะมีสารไวแสงที่ให้สีเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเยื่อ ไวแสงนี้ จะทำหน้าที่บันทึกภาพที่ไม่สามารถมองเห็น (Latent Image) อันประกอบด้วยอะตอมของเงิน ประมาณ 3-6 อะตอม เมื่อนำไปล้างด้วยน้ำยาล้างฟิล์ม แล้วจะเกิดเป็นอะตอมเพิ่มถึง 100 เท่า เนื่องจากน้ำยาล้างภาพจะให้อิเลคตรอน แก่ไอออนของเงิน ก็ทำให้มองเห็นภาพได้
ชั้นที่ 3 เรียกว่า Plastic Film Base หรือ Suppport ชั้นนี้จะเป็นวัสดุโปร่งใสทำด้วยอาซีเตท (Cellulose Acetate) ใช้เป็นพื้นสำหรับฉาบด้วยสารไวแสงมีลักษณะใสเหนียวไม่ยืดหด และไม่ไวไฟ
ชั้นที่ 4 เรียกว่า Antihilation Backing ชั้นนี้จะฉาบด้วยสารที่ป้องกันแสงที่จะทะลุผ่านเนื้อฟิล์มออกไปแล้วสะท้อน กลับมาทำอันตรายฟิล์ม เกิดเป็น ภาพเงาซ้อนขึ้น




ได้กล่าวไว้ว่าชั้นที่ 2 เป็นชั้นของเยื่อไวแสงที่บันทึกภาพ ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีและฟิล์มสไลด์สีจะบันทึกสีต่าง ๆ สามสีด้วยกัน คือสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดงตามวัตถุสีที่ถ่ายนั้น อย่างไรก็ตามวัตถุที่ถ่ายอาจมีสีอื่น ๆ นอกจาก สามสีที่กล่าวมาแล้ว แต่สีต่าง ๆ นั้นก็เป็นการรวบรวมตัวของสีทั้ง 3 เช่น สีไชยัน (Cyan) หรือสีฟ้าก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินและสีเขียว สีม่วง หรือสีมาเยนต้า (Magenta) ก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินกับสีแดง สีเหลือง (Yellow) ก็เป็นการรวมตัวของสีเขียวและสีแดง ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นทฤษฎีสีของแสง

Protective Top Coat
Light Sensitive Base
Emulsion
Film Base
Antihilation Backing



สำหรับฟิล์มสีและฟิล์มที่ใช้ถ่ายทำสไลด์ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยชิ้นส่วนของสารเคมีที่ทำให้เกิดสีเป็นชั้น ๆ บนเซลลูลอยด์ หรืออาซีเตท ดังนี้
ชั้นที่ 1 ตัวยาไวแสงสีน้ำเงิน
ชั้นที่ 2 เจลาติน (Gelatin)
ชั้นที่ 3 ตัวยาไวแสงสีเขียว
ชั้นที่ 4 เจลาติน (Gelatin)
ชั้นที่ 5 ตัวยาไวแสงสีแดง
ชั้นที่ 6 เซลลูลอยด์ หรืออาซีเตท
ชั้นที่ 7 ตัวยาป้องกันแสงสะท้อนกลับ (Annihilation)
1. น้ำเงิน
2. เจลาติน
3. สีเขียว
4. เจลาติน
5. สีแดง
6. อาซีเตท
7. ป้องกันแสงสะท้อน
เมื่อฟิล์มได้รับการบันทึกภาพ ฟิล์มจะบันทึกภาพที่เป็นสีสรรตามความเป็นจริงคือ วัตถุสีแดงจะบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีแดง
- วัตถุสีเขียวจะบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีเขียวและ
- วัตถุสีน้ำเงินจะบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีน้ำเงิน นอกจากนั้นยังมีสีอื่น ๆ ที่ถูกบันทึกด้วยการรวมตัวของสีสองสีคือ
- วัตถุสีฟ้า เรียกว่า สีไชยัน (Cyan) จะถูกบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีน้ำเงินและสีเขียว
- วัตถุที่มีสีม่วง เรียกว่า สีมาเยนต้า (Magenta) จะถูกบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีแดงและสีน้ำเงิน
- วัตถุที่มีสีเหลือง (yellow) จะถูกบันทึกด้วยชั้นไวแสงสีแดงและสีเขียว






ในการเลือกใช้ฟิล์มสีนั้น ควรระลึกเสมอว่าสีมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของคนมากแตกต่างกัน การใช้ฟิล์มสีถ่ายภาพวัตถุต่าง ๆ ควรพิจารณาว่าวัตถุที่ถ่ายนั้น มีสีสรรเช่นใด สีโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้
สีรุนแรง (Strong Color) เป็นสีที่จัดจ้าน ร้อนแรง สดใส ให้อารมณ์และบรรยากาศสนุกสนานรื่นเริง ส่วนมากเป็นพวกแม่สีทั้งหลายมาอยู่รวมกัน การใช้สีแบบนี้ถ่ายภาพควรระวังให้มากเพราะจะแบ่งความสนใจไปจากทุกสิ่งในภาพทั้งรูปทรง รายละเอียดและอาจทำให้จัดภาพไม่สมดุล แม่สีจะมีพลังสูงที่สุด โดยเฉพาะสีแดงพื้นที่เล็ก ๆ ของสีแดงจะดึงดูดความสนใจให้โดดเด่นจากภาพได้ ควรใช้สีรุนแรงช่วยเสริมจุดสนใจในภาพ โดยจำกัดจำนวนของสี และเพิ่มปริมาณพื้นที่ที่ไม่มีสีตัดกันรุนแรงเข้าไปในภาพ สีจะรุนแรงที่สุดเมื่อมีพื้นดำ เทาหรือขาวเป็นฉากหลังซึ่งการถ่ายภาพลักษณะให้ได้สีรุนแรงที่สุดดังกล่าว ควรใช้ไฟแฟลชให้แสงตรงและแรงหรือถ่ายกับแสงแดดจัด ๆ ก็ได้
สีตัดกัน (Contrast Color) เป็นสีที่ตรงข้ามในวงจรสี เช่นสีแดงกับสีเขียว สีเหลืองกับสีม่วง สีส้มกับสีน้ำเงินเมื่อนำมาใช้ด้วยกันจะทำให้เกิดความรู้สึก เร้าอารมณ์ เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง มีพลัง สีตัดกันอาจเป็นสีโทนร้อนกับเย็นหรือสีมืดกับสีสว่างก็ได้ การใช้สีตัดกันควรพิจารณาการจัดภาพและการสร้าง ความสมดุลในภาพให้ดี มิเช่นนั้นจะได้ภาพที่ไม่ดีด้วย
สีกลมกลืน (Harmony Color) เป็นสีนุ่มนวลไม่ตัดกันมาก ดูแล้วสบายตาสบายใจ ไม่มีแม่สีเข้าเกี่ยวข้อง ให้อารมณ์ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง และสงบการใช้ สีโทนเย็นจะกลมกลืนได้ดีกว่าสีโทนร้อน เช่นสีฟ้ากับสีเขียว สีฟ้ากับสีม่วง สีเหลืองกับสีส้ม
สีชุดเดียวกัน (Pre

dominant Color) เป็นสีชุดเดียวกัน ไล่ระดับอ่อนแก่ให้อารมณ์ได้หลายอย่าง แล้วแต่โทนของสี เช่นร้อนแรง เยือกเย็น เ หงาหงอยเป็นต้น สีที่มีพื้นที่มาก ๆ ในภาพเป็นสีที่มีความสำคัญที่สุด และภาพที่มีโทนเดียวเดี่ยว ๆ จะชักจูงอารมณ์คนดูให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ทุ่งหญ้าสีเขียว มีคนแต่งชุดเขียว ให้สีเขียวสะท้อนล้อกันในภาพ
สีกระโดด (Insolate Color) เป็นสีเดียวที่โดดเด่นขึ้นมาจากสีพื้น ส่วนใหญ่ สีที่โดดเด่นขึ้นมานั้นจะเป็นสีที่ตัดกันกับสีพื้น ทำให้สีนั้นเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ในภาพ จึงทำให้ภาพน่าสนใจ เช่น ภาพดอกไม้สีเหลืองดอกหนึ่ง แทรกอยู่กับภาพใบไม้สีเขียวเต็มกรอบภาพ สีกระโดดเช่นนี้ทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา สดใส สดสวยขึ้น




ชนิดของฟิล์ม
ฟิล์มที่ใช้ถ่ายภาพโดยทั่ว ๆ ไปแบ่งได้หลายประเภท หลายลักษณะต่างกัน คือ
1. แบ่งตามการแยกสี ได้แก่
1.1 ฟิล์มขาวดำ (Black and White Film) เป็นฟิล์มที่ฉาบด้วยเยื่อไวแสงที่ทำให้ภาพเป็นสีขาวดำเมื่อนำฟิล์ม ไปล้างครบกระบวนการ
1.2 ฟิล์มสี (Color Film) เป็นฟิล์มที่ฉาบด้วยเยื่อไวแสงที่ทำให้ภาพเป็นสีธรรมชาติเหมือนวัตถุจริงที่ถ่ายซึ่งสีหลัก
ที่เกิดขึ้นมีสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดง ส่วนสีรองคือ สีฟ้า สีม่วงและสีเหลือง

2. แบ่งตามกรรมวิธี ได้แก่
2.1 ฟิล์มเนกาตีฟ (Negative Film) เป็นฟิล์มที่มีเยื่อไวแสงเป็นตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ต้องนำไปอัดขยายตาม กระบวนการอีกทีหนึ่งจึงจะได้ภาพที่ตรงความเป็นจริง
2.2 ฟิล์มโพสิตีฟ (Positive Film) เป็นฟิล์มที่ใช้สำหรับอัดภาพจากเนกาตีฟเมื่อล้างตามขบวนการจะได้ ภาพที่มีสีตรงกับสีธรรมชาติของวัตถุจริง
2.3 ฟิล์มรีเวอร์ซัล (Reversal Film) เป็นฟิล์มที่มีเยื่อไวแสง ทั้งเนกาตีฟและโฟสิตีฟรวมกัน หลังจากนำไปล้าง ตามกระบวนการจะได้ภาพออกมามีลักษณะที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น สไลด์ ฟิล์มสตริฟ เป็นต้น




ได้กล่าวไว้ว่าชั้นที่ 2 เป็นชั้นของเยื่อไวแสงที่บันทึกภาพ ถ้าเป็นฟิล์มขาวดำ แต่ถ้าเป็นฟิล์มสีและฟิล์มสไลด์สีจะบันทึกสีต่าง ๆ สามสีด้วยกัน คือสีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดงตามวัตถุสีที่ถ่ายนั้น อย่างไรก็ตามวัตถุที่ถ่ายอาจมีสีอื่น ๆ นอกจาก สามสีที่กล่าวมาแล้ว แต่สีต่าง ๆ นั้นก็เป็นการรวบรวมตัวของสีทั้ง 3 เช่น สีไชยัน (Cyan) หรือสีฟ้าก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินและสีเขียว สีม่วง หรือสีมาเยนต้า (Magenta) ก็เป็นการรวมตัวของสีน้ำเงินกับสีแดง สีเหลือง (Yellow) ก็เป็นการรวมตัวของสีเขียวและสีแดง ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นทฤษฎีสีของแสง

3. แบ่งตามการบันทึกภาพ ได้แก่
3.1 เนื้อของวัสดุ (Grain) ซึ่งมีเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ
3.2 เนกาติฟสีตัดกัน (Contrast) หมายถึง ความแตกต่างระหว่างสีดำกับสีขาว ซึ่งได้แก่ ชนิดสีตัดกันมาก และชนิดสีตัดกันน้อย
3.3 ช่วงที่พอเหมาะในการรับภาพ (Latitude) หมายถึงช่วงของแสงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความสามารถของการรับภาพของฟิล์ม ซึ่งขึ้นอยู่แกรมม่า ของฟิล์มแต่ละชนิด

4. แบ่งตามความไวสีโดยใช้ความไวสีของแสงเป็นเกณฑ์ มี 5 ชนิด ได้แก่
4.1 ชนิดบอดสี (Non-Color Sensitive, Color Blind) ฟิล์มชนิดนี้จะบอดต่อทุกสี แต่มีคุณสมบัติไวต่อแสงอุลตราไวโอเลต สีม่วงครามและสีน้ำเงินเท่านั้น ส่วนมากมักนิยมนำฟิล์มชนิดนี้ไปถ่ายภาพงานพิมพ์ ถ้าใช้ถ่ายรูปภาพทั่ว ๆ ไป เช่น ภาพวิวขาวดำ ท้องฟ้าจะปรากฏสีขาว ส่วนหญ้าจะเป็นสีดำ
4.2 ชนิดออโตโครเมติค (Orthochromatic) เป็นฟิล์มที่ไวต่อแสงอุลตราไวโอเลตสีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว แต่ไม่ไวต่อแสงสีแดง ดังนั้นจึงนิยมเรียก ฟิล์มชนิดนี้ว่าฟิล์มแดง ซึ่งใช้กับแว่นกรองแสงสีแดง หรือ ถ่ายภาพวัสดุสีแดงไม่ได้เลย เพราะภาพที่ได้จะมืดเนื่องจากฟิล์มชนิดนี้ไม่ทำปฏิกิริยากับแสงสีแดงฟิล์มชนิดนี้ มีชื่อลงท้ายว่า Chrome เช่น ซีโลโครม ของ Ilford และ Verichrome ของ Kodak เป็นต้น
4.3 ชนิดแพนโครเมติด (Panchromatic) เป็นฟิล์มที่มีความไวต่อแสงทุกสี ยกเว้นสีเขียวเท่านั้น ดังนั้นจึงเรียกว่า ฟิล์มเขียว ฟิล์มชนิดนี้มีชื่อขึ้นต้นว่า Pan เช่น Pan F ของ Ilford, Isopan ของ Agfa และ Plus-X Pan ของ Kodak เป็นต้น
4.4 ชนิดอินฟาเรด (Infared) เป็นฟิล์มที่สามารถบันทึกรังสี Infared ที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติที่สามารถตัดหมอกควัน ในท้องฟ้าให้ดูกระจ่างชัดขึ้น ฟิล์มชนิดนี้ไม่นิยมนำมาใช้ถ่ายภาพทั่วไป แต่นำไปใช้ถ่ายภาพทางอากาศทางการแพทย์ และทางการทหาร เพื่อพิสูจน์ข้อมูลพื้นที่ต่าง ๆ
4.5 ชนิดเอกซเรย์ (X-ray) เป็นฟิล์มที่ออกแบบขึ้นมา เพื่อใช้กับเครื่องเอกซเรย์โดยเฉพาะสามารถถ่ายภาพอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์ได้ เนื่องจากมีความไวแสงสูงมาก

5. แบ่งตามความไวแสงโดยยึดค่าความไวแสงที่เป็นตัวเลขเป็นเกณฑ์ที่มีอยู่ 4 ชนิดได้แก่
5.1 ประเภทความไวแสงต่ำ ปกติมีความไวแสงไม่เกิน ISO 50
5.2 ประเภทความไวแสงปานกลาง มีความไวแสงระหว่าง ISO 50 ถึง ISO 200
5.3 ประเภทความไวแสงสูง มีความไวแสงระหว่าง ISO 200 ถึง ISO 800
5.4 ประเภทความไวแสงสูงมากมีความไวแสงตั้งแต่ ISO 800 ขึ้นไป

6. แบ่งตามขนาดของฟิล์ม แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
6.1 ฟิล์มขนาดเล็ก เป็นฟิล์มที่มีขนาด จาก 35 มม . ลงมา
6.2 ฟิล์มขนาดกลาง เป็นฟิล์มที่มีขนาดตั้งแต่ 6 x 6 ซม . ขึ้นไปแต่เล็กกว่า 4 x 5 นิ้ว
6.3 ฟิล์มขนาดใหญ่ เป็นฟิล์มที่มีขนาดตั้งแต่ 4 x 5 นิ้วขึ้นไป


7. แบ่งตามลักษณะของวัสดุที่นำมาผลิตฟิล์ม ได้แก่
7.1 ฟิล์มม้วน (Roll film) เป็นฟิล์มที่หุ้มด้วยกระดาษทำเป็นม้วนยาวพันรอบแกน ได้แก่ ฟิล์ม 120, 127, 620 เป็นต้น นอกจากนั้นฟิล์มประเภทที่อยู่ในตลับ (Cartridge) เช่น 110, 126 และอีกชนิดหนึ่งที่เป็นฟิล์มม้วน คือฟิล์มประเภท 135 หรือที่รู้จักคือฟิล์ม 35 มม . ที่บรรจุอยู่ในกลัก (Cassette) ถ่ายภาพได้ 20, 24 และ 36 ภาพ กล้องบางชนิด เช่นครึ่งกรอบภาพ (Half Frame) อาจจะถ่ายภาพถึง 72 ภาพ
7.2 ฟิล์มแผ่น (Pack Film) เป็นฟิล์มอาซิเตทที่ทำเป็นแผ่น ๆ บรรจุอยู่ในกล่องขนาด 6 x 9 ซม . กล่องละ 12 แผ่น
7.3 ฟิล์มกระจก (Sheet and Plate Film) ฟิล์มชนิดนี้อาจเป็นฟิล์มอาซิเตทที่ทำเป็นแผ่น ๆ หรือเป็นฟิล์มกระจกก็ได้ มีขนาดตั้งแต่ 5.5 X 6 ซม . ถึง 50 X 60 ซม . ส่วนมากจะใช้กับกล้องใหญ่ในห้องสตูดิโอ 8. แบ่งตามลักษณะของแสงที่สัมพันธ์กับฟิล์มสี มีดังนี้คือ
8.1 ฟิล์มที่ใช้กับแสงแดดหรือแสงธรรมชาติหรือไฟแวบ (Daylight Type) มีอุณหภูมิสีของแสง
8.2 ฟิล์มที่ใช้กับแสงประดิษฐ์ (Tungsten Type) ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทคือ
8.2.1 Type A เป็นฟิล์มที่ใช้กับไฟถ่ายรูปที่มีอุณหภูมิสีของแสง 3400 องศาเคลวิน
8.2.2 Type B เป็นฟิล์มที่ใช้กับไฟถ่ายรูปที่มีอุณหภูมิสีของแสง 3200 องศาเคลวิน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น