วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การยืดภาพเพื่อเน้นความชัดเจน (Contrast Enhancement or Contrast stretching)

สำหรับเทคนิคการยืดค่าระดับสีเทานี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
(1) Linear Contrast Stretch เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการปรับระดับค่าสีเทา (gray scale level) หรือค่า
ความสว่างให้มากขึ้น ด้วยการขยายพิสัย (Range) ของระดับค่าสีเทาของข้อมูลเดิมให้มีค่ามากยิ่งขึ้นจนเต็มช่วง 0-255 โดยใช้
กราฟปรับเทียบ (lookup table) ที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง เช่น เทคนิค Standard deviation linear contrast stretch,
Minimum-Maximum contrast stretch หรือ Data scaling เป็นต้น
(2) Non-Linear Contrast Stretch เป็นการยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพ โดยใช้ความสัมพันธ์ที่ไม่
ใช่ลักษณะเชิงเส้นตรง จุดประสงค์ในการใช้วิธีนี้คือ พยายามเปลี่ยนการกระจายข้อมูลที่ไม่ปกติให้เป็นแบบปกติและปรับจำนวนจุด
ภาพในแต่ละค่าความเข้มให้มีจำนวนใกล้เคียงกัน ซึ่งเทคนิคแบบนี้เรียกว่า “Histogram equalization stretching” หรือการยืด
ภาพตามความถี่ของข้อมูล นอกจากนี้การยืดข้อมูลภาพแบบ Non Linear Contrast Stretch ยังมีเทคนิคแบบอื่นๆ อีก เช่น
Histogram normalization, Logarithmic, Exponential, หรือ Gaussian เป็นต้น
(3) Piecewise Contrast Stretch เป็นการเลือกยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพเป็นช่วงที่เฉพาะเจาะจง
(Specific portion of data) โดยแต่ละช่วงอาจจะกำหนดพิสัยของการยืดแตกต่างกันไป หลักการคือ พิสัยของระดับค่าสีเทาของ
ข้อมูลเดิมที่ต้องการขยายนั้น จะถูกแบ่งออกเป็นหลายๆ ช่วง และในแต่ละช่วงจะขยายให้เป็นค่าใดๆ ก็ได้ตามต้องการ แต่ต้องต่อ
เนื่องกันไปจนตลอดช่วง 0-255
สำหรับเทคนิคการปรับเน้นภาพโดยวิธีการยืดข้อมูลภาพ อาจจะมีนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น Histogram
Matching, Threshold, Gamma, Constant Value, Invert หรือ Brightness and Contrast เป็นต้น นอกจากนี้การปรับเน้น
ภาพโดยเทคนิคการยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพนี้ ผู้ใช้สามารถที่จะทำการกำหนดหรือสร้างกราฟปรับเทียบ (lookup table) เอง
ได้โดยให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการด้วยการใช้เครื่องมือ “Break Point Editor” ของโปรแกรม ERDAS IMAGINE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น