วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model : DEM)

แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model : DEM) มาตราส่วน 1:4,000
แบบจำลองระดับสูงเชิงเลขเป็นแบบจำลองที่ได้จากการวัดความสูงหรือจุดระดับความสูงที่เป็นตัวแทนของภูมิประเทศ มีการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการนำเสนอแบบจำลองในรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างแบบจำลองสามมิติ (3D) แบบจำลองสามมิติเสมือนจริง การสร้างแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขนั้น เป็นกระบวนการรังวัดความสูงของภูมิประเทศ แล้วนำมาจัดเก็บในคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่สามารถเรียกกลับมาใช้ได้ แบบจำลองระดับสูงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการนำไปสร้างภาพถ่ายออร์โธ เนื่องจากแบบจำลองระดับสูงจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการปรับแก้ความคลาดเคลื่อน ทางตำแหน่งเนื่องจากความสูงต่างของภูมิประเทศ (Relief Displacement) ซึ่งหากแบบจำลองระดับสูงมีความถูกต้องสูงก็จะส่งผลให้ภาพถ่ายออร์โธมีความ ถูกต้องสูงด้วยเช่นกัน โครงการจัดทำแผนที่เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ส่วนเทคโนโลยีการบริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ ให้บริการอยู่ในปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้
ตัวอย่างแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model : DEM)
1.จัดเก็บแบบจำลองระดับสูง เช่นเดียวกับแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข 1:4.000 ขนาดระวาง 2 x 2 ตารางกิโลเมตร
2.รูปแบบของการจัดเก็บ แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข มี 2 แบบ ดังนี้
◦แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข ในรูปแบบของ Raster หรือกริด มีระยะห่างของกริด 5 เมตร
■จัดเก็บจุดระดับเป็นแถวเป็นแนว (Row, Column)
■ระยะห่างของจุด 5 เมตร (GSD)
■จัดเก็บในรูปแบบของ Raster (Filename.img)
■ขนาดของไฟล์ ประมาณ 2 MB/ระวาง
◦แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข ในรูปแบบของ Vector
■จัดเก็บค่าพิกัดและค่าระดับของจุด (N,E,H)
1.ระยะห่างของจุด 5 เมตร (GSD)
2.จัดเก็บในรูปแบบของ Vector (Filesname.shp)
3.ขนาดของไฟล์ ประมาณ 10 MB/ระวาง
■เส้นชั้นความสูง ซึ่งสร้างจากแบบจำลองระดับสูงแบบจุด
1.ข้อมูลเส้นที่ลากผ่านจุดที่มีระดับสูงเท่ากัน
2.ระยะห่างระหว่างเส้นชั้นความสูง (Contour Interval)
■พื้นที่ราบ (Slop ≤ 35%) 2 เมตร
■พื้นที่สูงชัน (Slop > 35%) 5 เมตร หรือ 10 เมตร
3.จัดเก็บในรูปแบบของ Vector (Filename.shp)
4.ขนาดของไฟล์ ประมาณ 2 MB/ระวาง
3.แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข(DEM) มาตราส่วน 1:4000 มีเกณฑ์ความถูกต้องที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ดังนี้
◦บริเวณพื้นที่ราบ และบริเวณที่มีความลาดชันไม่เกิน 35% ความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ 2 เมตร หรือดีกว่า
◦บริเวณพื้นที่สูงชัน มีความลาดชันเกิน 35% ความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ 4 เมตร หรือดีกว่า

ที่มา : http://www.lddgis.org/bgst/dem.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น